YOTATHAI
  • โยธาไทย
    • ค้นหาข้อมูลโยธาไทย
    • ช่างถึก โยธาไทย
    • โยธาไทยเทรนนิ่ง
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย (เชียงราย) >
      • Facebook บ้านโยธาไทย
    • Line
  • เว็บบอร์ดโยธาไทย
  • พัสดุ/ราคากลาง / ค่า k
    • หลักเกณฑ์ราคากลาง
    • ปรึกษาปัญหาราคากลาง >
      • อบรมราคากลาง
    • E-ราคากลาง
    • ค่า K
    • ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
    • ราคาวัสดุก่อสร้าง
    • ราคาน้ำมัน
  • SketchUp
    • ข่าวสาร/ความรู้ SketchUp
    • โปรแกรม SketchUp Pro ลิขสิทธิ์แท้
    • อบรม SketchUp
    • BIM Bundle (Profile Builder 3 และ Quantifier Pro)
    • Facebook SketchUp >
      • เพจ THIA BIM
      • กลุ่ม Sketchup Builder
    • Profile Builder + Quantifier Pro
  • ข่าวสาร/ประกาศ
    • Yotanews
    • SketchUp News
    • plan
    • passadu news
    • สอบถามปัญหา
  • สนับสนุนโยธาไทย
    • โยธาไทย รับเชิญบรรยาย
    • รับสอนออนไลน์ ราคากลางงานก่อสร้าง
    • จำหน่ายโปรแกรม ค่า K
    • รับทำคำนวณ ค่า k
    • โปรแกรม SketchUp
    • โปรแกรมคำนวณค่า Factor F
    • โปรแกรมคำนวณวัสดุมวลรวมงานอาคาร
    • ยางมะตอยผสมเสร็จโยธาพรีมิกซ์
    • โยธาไทยแอสฟัลท์
    • สารส้ม/คลอรีน
    • ลงโฆษณา Banner บนเว็บไซต์โยธาไทย

อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F  ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F 

20/9/2016

Comments

 
Picture

​อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ที่ใช้กับหลักเกณฑ์งานก่อสร้างของราชการ ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F 

อาจารย์วิสิฐ  อัจฉยานนท์กิจ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ที่ใช้กับหลักเกณฑ์งานก่อสร้างของราชการ ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
​

จากที่กรมบัญชีกลางปรับตารางค่า FACTOR F ใหม่และเริ่มใช้ 15 กันยายน 2559 นั้น เห็นว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้นราว 2 - 3 % ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องทราบมาว่า เริ่มต้นจากกรมทางหลวง ขอปรับตารางค่างานใหม่ เพราะอัตราการเฟ้อทั้งค่าเงิน และของวัสดุก่อสร้างและต่างๆทำให้ค่างานก่อสร้างเพิ่มขึ้น จึงต้องการปรับค่างานเพิ่มขึ้น แต่เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม เช่น เดิม ค่างาน 50 ล้านบาท เวลาดำเนินการ 6 เดือน เปลี่ยนเป็นค่างาน 60 หรือ 70 ล้าน เวลาดำเนินการเท่าเดิมคือ 6 เดือน ซึ่งก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ค่างานเพิ่มตามอัตราการเฟ้อ แต่เนื้องานไม่้เพิ่ม เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม ซึ่งถ้าตามหลักการของFactor F แล้ว ค่างานน่าจะถูกลงกว่าเดิม เพราะ เนื้องานเท่าเดิม เวลาดำเนินการลดลง ค่าใช้จ่ายส่วนอำนวยการ Overhead ควรจะลดลง เพราะเวลาที่ต้องใช้จ่ายลดลง แต่กลับมี Factor F ค่าสูงขึ้น 2-3 % 

เพื่อความเข้าใจ ขอชี้แจงให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การคิดค่า Factor F ว่า คิดมาอย่างไร ค่า Factor F ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้ 
                  ก. ค่าอำนวยการ Overhead ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆตั้งแต่ค่าสำนักงาน ผู้จัดการ วิศวกร พนักงาน ค่าใช้จ่ายการซื้อแบบ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งก็มีอัตราการเฟ้อเพิ่มขึ้นเหมือนๆค่างานก่อสร้าง จึงคิดเป็น เปอร์เซนต์ ของค่างานก่อสร้าง ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง
                 ข. กำไร ซึ่งก็คิดตามเกณฑ์ของการประกอบธุรกิจ มี Normal profit หรือดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และบวกกับ กำไรเชิงธุรกิจ ธุรกิจเสี่ยงมาก ก็ควรมีกำไรมาก ธุรกิจเสี่ยงน้อยก็กำไรน้อย
                 ค. ดอกเบี้ย การก่อสร้างต้องลงทุนไปก่อน กว่าเงินงวดจะออก ต้องรอใช้เวลา ต้องเสียดอกเบี้ย แม้จะมีเงินสด ก็ต้องคิดให้ 
                 ง. ค่าความเสี่ยง ความไม่แน่นอน Contingency งานก่อสร้างถนนเป็นระยะทางยาวๆ ย่อมมีอุปสรรคหรือความเสี่ยงเกิดขึ้น 
                 จ. สุดท้ายก็คือภาษี VAT

มาเปลี่ยนแปลงครั้งแรก ตัดค่าความเสี่ยง Contingency ซึ่งมีค่าราว 4% ออก โดย อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ไม่มีประสบการณ์การประเมินราคา และงานก่อสร้างทางมาก่อน บอกว่า ซื้อประกันอุบัติภัยได้ เสียเบี้ยประกันเพียง 0.35% ของค่างานก่อสร้าง ซึ่ง อัตรานี้ก็เหมือนประกันภัยรถ ประเภท 3 ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนหนึ่ง จ่ายชดเชยเพียงบางส่วน โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยว่า ที่เขาเผื่อไว้ให้ 4% นั้น มันมีเรื่องค่า K ด้วย หลักการจ่ายเงินชดเชยค่า K กำหนดเงื่อนไขว่าจะจ่ายต่อเมื่อค่างานแปรเปลี่ยนไปเกิน 4% (K เกิน 1.04) และจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกิน 4 % ไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าผู้รับจ้างต้องเสี่ยงกับเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมัน 4% ตอนนั้นจึงคิดว่า แบ่งความเสี่ยงคนละครึ่ง รัฐ 2 ผู้รับเหมา 2 และที่เป็น 4 เพราะความเสี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอีก 2% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์สากลมาก

มาเปลี่ยนอีกรอบนี้ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เพิ่มให้ 2-3 % เพราะอ้างว่าเงินเฟ้อ ค่าแรงเพิ่ม ทั้งที่ มันเป็น เปอร์เซนต์ การเฟ้อเพิ่มยังไง มันก็เพิ่มเป็นเปอร์เซนต์ตามอัตโนมัติ กรมทางหลวงที่รู้เรื่องนี่ดี พยายามชี้แจง ก็ไม่ยอมเข้าใจ กรมทางหลวงเองไม่ต้องการให้ค่า Factor F สูงขึ้น ต้องการเพียงปรับค่างานสูงขึ้นใน Factor F ตัวเดิม เช่นเดิม ค่างาน 50 ล้าน Factor F 1.3521 ขอเป็นค่างานงาน 70 ล้าน Factor F 1.3521 คงเดิม และขยายตารางไปถึงค่างาน 700 ล้านบาท เพราะค่างานสูงขึ้นเป็นผลร้ายต่องานกรมทางหลวง งบเท่าเดิม แต่ก่อสร้างทางได้น้อยลง ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ถ้าต้องการปรับจริงๆ ควรปรับให้เกิดความถูกต้องยุติธรรม โดยนำเอา ค่า Contingency กลับมาใช้อย่างถูกต้อง และตัดค่าเบี้ยประกัยภัย 0.35% ที่ซ่อนอยู่ใน overhead ออกด้วย ตัวเลขก็ใกล้เคียงตาราง Factor F ใหม่นี้ แต่มีความถูกต้องมากกว่า ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์อ้างเรื่องค่าแรง ของแพงอีก
การจ่ายเงินชดเชยค่า K นั้น สำนักงบประมาณ ต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม กำหนดให้งานทุกรายการต้องมีการจ่ายชดเชย เพราะงานทุกรายการต้องใช้วัสดุก่อสร้าง ค่าแรง เครื่องจักร น้ำมันเหมือนๆกัน ถูกกระทบเหมือนกัน อย่ามาอ้างว่า ชดเชยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้รับจ้าง เพราะนั่นเป็นสิทธิ์ของเขาตามสัญญา / สัญญาที่ใช้เงินกู้ เขาจ่ายทุกรายการ และจ่าย ตั้งแต 1.01 ที่เกินมาเลย ไม่มีขยักไว้ 4% แบบสัญญาที่ใช้งบประมาณ และสำนักงบประมาณ ควรสำรองเงินจ่ายชดเชยค่า K ไว้ให้พอเพียง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปีหนึ่งประมาณเท่าไร มีสถิติมาแล้ว นับสิบๆปี ย่อมประเมินได้ว่า อัตราการเฟ้อควรเท่าไร และงบก่อสร้างต่างๆก็จัดเองรู้อยู่แล้ว นอกจากแกล้งโง่ หรือเพื่อต้องการอำนาจต่อรอง จึงจัดงบก้อนนี้ไว้ไม่พอ ผู้รับเหมาต้องรอการจ่ายนานเป็นปีๆ บางราย 3 ปี กว่าจะได้เงินชดเชยค่า K
Picture
วิสิฐ อัจฉยานนท์กิจ

Comments
    • สมัครรับข่าวความรู้จากช่างถึก
    • เชิญวิทยากรบรรยาย
    • ติดต่อทีมงานโยธาไทย (Line@)
    • สมัครอบรมกับโธาไทย
    • กลุ่มสนทนาใน Line(ฟรี)
    • รับข่าวสารผ่าน Line(ฟรี)
    • กลุ่มปรึกษาปัญหาใน FB(ฟรี)
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย
    • ยางมะตอยโยธาพรีมิกซ์
    • สารส้ม-คลอรีน
    • โปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • เขียนเหล็กเสริมใน SketchUp
    Picture
    Picture
    เพิ่มโยธาไทยเป็นเพื่อนใน Line
    Picture
    Picture
    Picture

    Categories

    All
    Download
    E Book
    Sketchup
    กฎกระทรวง
    กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
    กรมทางหลวง
    กรมทางหลวงชนบท
    กรมโยธาธิการและผังเมือง
    ข.1
    ข.7
    ข้อบังคับสภาสถาปนิก
    ข่าวประชาสัมพันธ์
    ควบคุมงานก่อสร้าง
    ความรู้งานช่าง
    คอนกรีตเสริมเหล็ก
    คอมพิวเตอร์
    ค่า K
    คำวินิจฉัย
    คู่มือ
    งานก่อสร้าง
    ชลประทาน
    ทางลอด
    บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
    บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง
    แบบแปลน
    ประปา
    ประมาณราคา
    โปรแกรมวิศวกรรม
    พรบ.ควบคุมอาคาร
    พัสดุ
    ภาคีสถาปนิกพิเศษ
    มอก.
    มาตรฐานงานทาง
    ระบบไฟฟ้า
    ระเบียบ กฎหมาย
    ระเบียบ-กฎหมาย
    ราคากลาง
    ราคามาตรฐาน
    ราคาวัสดุก่อสร้าง
    ราคาวัสดุก่อสร้างและแรงงาน
    วัสดุก่อสร้าง
    ศาลปกครองสูงสุด
    สถาปนิก
    สถาปัตย์
    สถาปัตยกรรมควบคุม
    สพฐ.
    สภาวิศวกร
    สม้ครงาน
    เสาเข็ม
    หนังสือราคาวัสดุก่อสร้าง
    หางาน
    อปท.
    อัตราราคางานต่อหน่วย

    RSS Feed

Picture
   
  • โยธาไทย
    • ค้นหาข้อมูลโยธาไทย
    • ช่างถึก โยธาไทย
    • โยธาไทยเทรนนิ่ง
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย (เชียงราย) >
      • Facebook บ้านโยธาไทย
    • Line
  • เว็บบอร์ดโยธาไทย
  • พัสดุ/ราคากลาง / ค่า k
    • หลักเกณฑ์ราคากลาง
    • ปรึกษาปัญหาราคากลาง >
      • อบรมราคากลาง
    • E-ราคากลาง
    • ค่า K
    • ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
    • ราคาวัสดุก่อสร้าง
    • ราคาน้ำมัน
  • SketchUp
    • ข่าวสาร/ความรู้ SketchUp
    • โปรแกรม SketchUp Pro ลิขสิทธิ์แท้
    • อบรม SketchUp
    • BIM Bundle (Profile Builder 3 และ Quantifier Pro)
    • Facebook SketchUp >
      • เพจ THIA BIM
      • กลุ่ม Sketchup Builder
    • Profile Builder + Quantifier Pro
  • ข่าวสาร/ประกาศ
    • Yotanews
    • SketchUp News
    • plan
    • passadu news
    • สอบถามปัญหา
  • สนับสนุนโยธาไทย
    • โยธาไทย รับเชิญบรรยาย
    • รับสอนออนไลน์ ราคากลางงานก่อสร้าง
    • จำหน่ายโปรแกรม ค่า K
    • รับทำคำนวณ ค่า k
    • โปรแกรม SketchUp
    • โปรแกรมคำนวณค่า Factor F
    • โปรแกรมคำนวณวัสดุมวลรวมงานอาคาร
    • ยางมะตอยผสมเสร็จโยธาพรีมิกซ์
    • โยธาไทยแอสฟัลท์
    • สารส้ม/คลอรีน
    • ลงโฆษณา Banner บนเว็บไซต์โยธาไทย