ทำไมทางสาธารณะต้องออกแบบโดยวิศวกรระดับสามัญ?…และใครควบคุมงานได้บ้าง?ทำไมทางสาธารณะต้องออกแบบโดยวิศวกรระดับสามัญ?
…และใครควบคุมงานได้บ้าง? ⸻ ในการก่อสร้างถนนของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น เทศบาล อบต. กรมทางหลวงชนบท หรือหน่วยงานอื่น หากเป็นถนนที่ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเข้าใช้ได้โดยเสรี งานนั้นถือเป็น “ทางสาธารณะ” และเข้าข่ายเป็น “งานวิศวกรรมควบคุม” ตาม กฎกระทรวง พ.ศ. 2565 โดยเฉพาะ ข้อ 6 (11) และ ข้อ 6 (21) https://www.yotathai.com/yotanews/law-engineering-65 ⸻ งานออกแบบ “ทางสาธารณะ” → ต้องเป็นวิศวกรระดับสามัญขึ้นไปเท่านั้น เพราะ… งานออกแบบทางสาธารณะ ไม่มีอยู่ในขอบเขตของภาคีวิศวกร ตาม ข้อบังคับสภาวิศวกร พ.ศ. 2566 ข้อ 7 (1) https://www.yotathai.com/yotanews/coe-civil-2566 หากปล่อยให้ภาคีวิศวกรออกแบบถนนทางสาธารณะ เท่ากับทำงานเกินขอบเขตใบอนุญาต เสี่ยงผิดกฎหมายตาม มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 ⸻ สรุปง่าย ๆ: • ออกแบบทางสาธารณะ = ต้อง “สามัญ” หรือ “วุฒิ” เท่านั้น • ไม่ว่าจะถนนเล็กหรือใหญ่ → เข้ากฎกระทรวงแน่นอน ⸻ แล้ว “การควบคุมงานก่อสร้างถนน” ล่ะ? ใครทำได้? “การควบคุมงาน” ในที่นี้หมายถึง “การควบคุมการก่อสร้าง” ตามนิยามใน กฎกระทรวง ข้อ 5 (4) ซึ่งถือเป็น “งานวิศวกรรมควบคุม” แต่… ต้องแยกให้ชัดว่าเป็น “การควบคุมงานของฝ่ายใด” ⸻ 1. การควบคุมงานของ “ผู้รับจ้าง” → ต้องมีใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุม หากเป็น “ทางสาธารณะ” → ถือเป็น “งานควบคุม” ตามกฎกระทรวงแน่นอน และตาม ข้อบังคับสภาวิศวกร พ.ศ. 2566 ข้อ 7 (2) (ฏ) ระบุว่า “ภาคีวิศวกร” สามารถควบคุมงานก่อสร้าง ทางสาธารณะทุกขนาด ได้ ดังนั้น… การควบคุมงานของผู้รับจ้างสามารถใช้วิศวกรระดับภาคีได้ ⸻ 2. การควบคุมงานของ “ผู้ว่าจ้าง” → ไม่ต้องมีใบอนุญาตวิศวกร ในภาครัฐจะมี “ผู้ควบคุมงาน” ของหน่วยงานของรัฐอีกชุดหนึ่ง ซึ่งแต่งตั้งตาม ระเบียบกระทรวงการคลัง ข้อ 177 เพื่อรับผิดชอบการบริหารสัญญา และควบคุมงาน “ในเชิงระเบียบ” ไม่ใช่ควบคุมทางวิศวกรรมโดยตรง ดังนั้น… ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างไม่จำเป็นต้องเป็นวิศวกร เพียงแต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่ระเบียบกระทรวงการคลังกำหนดเท่านั้น ⸻ ถ้าใช้ผิดระดับ → เสี่ยงผิดเต็มระบบ • แบบไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ตรวจรับไม่ได้ • ควบคุมงานไม่มีผล • ฝ่ายผู้ว่าจ้างอาจละเลยต่อหน้าที่ • ฝ่ายผู้รับจ้างอาจโต้แย้งความรับผิดได้ทันที ⸻ สรุปสองบรรทัด: • งานออกแบบถนนสาธารณะ = วิศวกรระดับสามัญขึ้นไป • งานควบคุมก่อสร้างของผู้รับจ้าง = ใช้ภาคีวิศวกรได้ หากอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ~~~~~~~~~ ระดับของวิศวกรในงานวิศวกรรมควบคุม (สาขาวิศวกรรมโยธา) 1. วุฒิวิศวกร ข้อ 5 แห่งข้อบังคับสภาวิศวกร พ.ศ. 2566 ระบุว่า: “ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด” สรุป: ทำได้ทุกอย่าง ไม่จำกัดประเภทหรือขนาดของงาน ⸻ 2. สามัญวิศวกร ข้อ 6 ระบุว่า: “ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด ยกเว้นงานให้คำปรึกษา ทำได้เฉพาะการให้คำแนะนำ แต่ไม่สามารถให้การวินิจฉัย หรือการตรวจรับรองงาน” สรุป: • ออกแบบและควบคุมงานได้ทุกอย่าง • ยกเว้นงานให้คำปรึกษาที่ต้อง “วินิจฉัย” หรือ “รับรอง” ต้องเป็นวุฒิ ⸻ 3. ภาคีวิศวกร ข้อ 7 ระบุว่า: “ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้เฉพาะงาน ประเภท และขนาด ดังนี้…” โดยแยกเป็น 3 หมวด: • (1) งานออกแบบและคำนวณ • (2) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต • (3) งานพิจารณาตรวจสอบ หรืองานอำนวยการใช้ ⸻ ตัวอย่างถ้อยคำใน ข้อ 7 (2) (ฏ): “(ฏ) ทางสาธารณะทุกขนาด” ซึ่งอยู่ในหมวด (2) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต หมายความว่า ภาคีวิศวกรมีสิทธิควบคุมงานก่อสร้างถนนทางสาธารณะได้ทุกขนาด แต่ ไม่มีสิทธิออกแบบ เพราะคำว่า “ถนน” ไม่ปรากฏอยู่ในหมวด (1) งานออกแบบ ⸻ 4. ภาคีวิศวกรพิเศษ ข้อ 8 ระบุว่า: “ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ตามงาน ประเภท และขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต” สรุป: ได้รับสิทธิเฉพาะที่กำหนดรายกรณีโดยสภาวิศวกร ~~~~~~~~~~ แชร์ได้ , save ไว้ศึกษาส่วนตัวได้ , ห้ามนำไปโพสซ้ำหรือใช้งานที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต สงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ~~~~~~~~~~ อบรมกับโยธาไทย 1. อบรมราคากลางและค่า K https://training.yotathai.com/con-k 2. อบรมการจัดทำราคากลาง +ว232 +ว124 https://training.yotathai.com/w452 3. อบรมหลักการควบคุมงาน บริหารสัญญา https://training.yotathai.com/work 4. อบรมกฎหมายปกครองกับงานจ้างก่อสร้าง หลักการควบคุมงาน บริหารสัญญา และตรวจรับ https://training.yotathai.com/law-work 5. อบรม AI กับงานก่อสร้างและบริหารงานก่อสร้าง https://training.yotathai.com/ai 6. อบรมราคากลางงานก่อสร้างและสัญญาจ้างก่อสร้าง https://training.yotathai.com/contract 7. อบรม SketchUp BIM + LayOut https://training.yotathai.com/sketchup .......... อบรมออนไลน์ https://yotathai.link/online-training อบรมออนไลน์ .......... https://yotathai.link/lecturer เชิญวิทยากรบรรยาย https://yotathai.link/office ติดต่อทีมงานโยธาไทย (Line@) https://yotathai.link/training สมัครอบรมกับโธาไทย https://yotathai.link/chat กลุ่มสนทนาใน Line(ฟรี) https://yotathai.link/news รับข่าวสารผ่าน Line(ฟรี) https://yotathai.link/club กลุ่มปรึกษาปัญหาใน FB(ฟรี) https://yotathai.link/fb-gp กลุ่มปรึกษาปัญหาจัดจ้างก่อสร้าง ใน FB (ฟรี) https://yotathai.link/shop ร้านค้าโยธาไทย https://yotathai.link/premix ยางมะตอยโยธาพรีมิกซ์ https://yotathai.link/alum สารส้ม-คลอรีน https://yotathai.link/program โปรแกรมคอมพิวเตอร์ https://yotathai.link/program-k โปรแกรมค่า k https://yotathai.link/program-factorf โปรแกรม Factor F https://yotathai.link/program-unitcost โปรแกรมคำนวณวัสดุมวลรวม https://yotathai.link/program-sketchup โปรแกรม SketchUp https://roadprice.yotathai.com โปรแกรม ROAD PRICE ประมาณราคางานทาง https://yotathai.link/rebars เขียนเหล็กเสริมใน SketchUp https://yotathai.link/k-cal รับคำนวณค่า K |
Categories
All
|