พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และกฎกระทรวงที่ออกตาม พรบ.ควบุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเทคนิคการควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยปรัชญาและหลักการประมวลข้อบังคับการออกแบบอาคารตามสมรรถนะ โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยมาตรฐานการตรวจสอบโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยคู่มือตรวจสอบและซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเป็นคู่มือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดส่วนต่างๆ ของบ้านตั้งแต่ฐานราก จนถึงหลังคา ตลอดจนระบบไฟฟ้าและอื่นๆ และความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านให้กลับมาใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย รวมข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ปี 2558 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองกรมโยธาธิการและผังเมืองเห็นว่า การให้คําปรึกษา แนะนํา หรือการตอบ ข้อหารือของส่วนราชการ หน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไป จะสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือส่วนราชการ ตลอดจนผู้ใช้กฎหมายโดยทั่วไป นําไปใช้ศึกษาค้นคว้า และอ้างอิงได้ จึงดําเนินการรวบรวมข้อหารือต่าง ๆ และพิมพ์รวมเล่มเผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา การอ่านรายงานผลการเจาะสำรวจชั้นดิน โดยกลุ่มงานวิเคราะห์วิจัยและพัฒนาสำนักควบคุมการก่อสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมืองแบบบ้านลอยน้ำ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นแบบแปลนก่อสร้างบ้าน ที่สามารถลอยน้ำได้ โดยอาศัยแนวคิดที่จะปรับตัวให้สามารถอยู่กับน้ำท่วมได้ ระดับบ้านจะขึ้นลงตามระดับน้ำ เหมาะกับพื้นที่ ที่น้ำท่วมขังทุกปี เผยแพร่โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง รวมคู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง เล่มที่ 1-4 โดยกรมทางหลวงคู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง เล่ม 1 การบริหารโครงการ (กันยายน 2550) คู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง เล่ม 2 การควบคุมงานก่อสร้างทาง (กันยายน 2550) คู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง เล่ม 3 การควบคุมงานก่อสร้างสะพานและอาคารระบายน้ำ (กันยายน 2550) คู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทางหลวง เล่ม 4 การควบคุมคุณภาพวัสดุ (กันยายน 2550) แบบบ้าน 100 แบบ ของโครงการบ้านยิ้ม เพื่อประชาชน โดยโดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ร่วมกับ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านจัดทำโดยสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ร่วมกับ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ภายใต้นโยบาย "ทั้งชีวิต...เราดูแล" ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โปรดอ่านก่อนดาวน์โหลด โครงการนี้มีวัตถุประสงค์แจกจ่ายแบบบก่อสร้างบ้านฟรี ให้กับประชาชนเพื่อก่อสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างออกแบบและเขียนแบบ เป็นแบบที่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีความถูกต้องตามกฏหมายควบคุมอาคารของกรุงเทพมหานคร ช่วยประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการขออนุญาตก่อสร้างได้มาก เป็นการแจกจ่ายแบบก่อสร้างบ้านเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนเป็นรายบุคคลเท่านั้น โปรดอย่านำไปใช้แสวงหาประโยชจ์เชิงพาณิชย์ เช่นนำไปจำหน่ายต่อ นำไปคิดมูลค่าเพิ่มควบกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจของตนเอง เป็นต้น ห้ามแก้ไขดัดแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดเพื่อประโยชน์ทางการค้าพาณิชย์ อันเป็นการละเมิดกฏหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
คู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทาง โดยสำนักก่อสร้างทาง กรมทางหลวงชนบทคู่มือการควบคุมงานก่อสร้างทาง โดยสำนักก่อสร้างทาง กรมทางหลวงชนบท เป็นคู่มือการก่อสร้างทาง ที่อธิบายขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่
คู่มือตรวจสอบและซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ในนามคณะกรรมการเพื่อให้การช่วยเหลือพื้นฟูเยียวยา ฯ (กฟย.)ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดส่วนต่างๆ ของบ้านตั้งแต่ฐานราก จนถึงหลังคา ตลอดจนระบบไฟฟ้าและอื่นๆ และความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านให้กลับมาใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม จัดทำโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ในนามคณะกรรมการเพื่อให้การช่วยเหลือพื้นฟูเยียวยา ฯ (กฟย.) รวมแบบมาตรฐานงานทาง กรุงเทพมหานคร โดย สำนักงานออกแบบ สำนักการโยธา1.แบบเลขที่ มท.-01 ผิวทางคอนกรีตหนา 15 ซม 2.แบบเลขที่ มท.-02 ผิวทางคอนกรีตหนา 20 ซม. 3.แบบเลขที่ มท.-03 ผิวทางคอนกรีตหนา 25 ซม. 4.แบบเลขที่ มท.-04 ผิวทางชนิดแอสฟัลต์คอนกรีต 5.แบบเลขที่ มท.-05 แบบคันหินและคันหินรางตื้น 6.แบบเลขที่ มท.-06 ช่องรับน้ำหน้าคันหินแบบ A 7.แบบเลขที่ มท.-07 ช่องรับน้ำหน้าคันหินแบบ B 8.แบบเลขที่ มท.-08 แบบทาง เข้า-ออก 9.แบบเลขที่ มท.-09 แบบลาดทางเท้า 10.แบบเลขที่ มท.-10 การจัดสาธารณูปโภคบนทางเท้า 11.แบบเลขที่ มท.-11 แบบคอกต้นไม้ 12.แบบเลขที่ มท.-12 กระเบื่องซีเมนต์ปูพื้น 30x30x6 และ 30x30x3.5 ซม 13.แบบเลขที่ มท.-13 กระเบื้องปูพื้น 40x40x3.5 ซม. 14.แบบเลขที่ มน.-01 รางวีและบ่อพักรางวี 15.แบบเลขที่ มน.-02 ท่อระบายน้ำชนิดกลมในทางเท้า dai 0.40,0.50และ 0.60 ม. 16.แบบเลขที่ มน.-03 ท่อระบายน้ำชนิดกลมในผิวจราจร dai 0.40,0.50และ 0.60 ม. 17.แบบเลขที่ มน.-04 ท่อระบายน้ำชนิดกลมในทางเท้า dai 0.80,1.00,1.20 และ 1.50 ม. 18.แบบเลขที่ มน.-05 ท่อระบายน้ำชนิดกลมในผิวจราจร dai 0.80,1.00,1.20 และ 1.50 ม. 19.แบบเลขที่ มก.-01 รายละเอียดกำแพงกันดิน ระบบเผยแพร่ราคาประเมินราคา ที่ดินผ่านเว็บไซต์ โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทยทางเว็บไซต์ ระบบเผยแพร่ราคาประเมินราคา ที่ดินผ่านเว็บไซต์ ของกรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/index.asp ได้เปิดให้บริการค้นหาราคาประเมินที่ดินผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งการค้นหาราคาประเมินจะประกอบไปด้วย
1.ราคาประเมินที่ดิน จากเลขโฉนด 2.ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่ดิน 3.ราคาประเมินที่ดิน นส.3ก 4.ราคาประเมินที่ดินรายบล็อก 5.สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน 6.ราคาประเมินอาคารชุด 7.ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง ข้อดี คือ ได้ทราบราคาประเมินที่อัพเดท บางพื้นที่สามารถใช้เป็นราคาขายได้เลย ส่วนใหญ่ประโยชน์ของราคาประเมินคือ ไว้คิดค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน ข้อเสีย (ในขั้นต้น) คือ ราคาที่เราจะสามารถตรวจสอบ อาจจะยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ในระยะแรก อาจจะทำได้แค่บางพื้นที่ (ซึ่งตอนนี้ก็เพิ่มพื้นที่มากขึ้นพอสมควร) โดยสามารถเข้าค้นหาราคาประเมินได้ที่ เว็บไซต์ ระบบเผยแพร่ราคาประเมินราคาผ่านเว็บไซต์ ของกรมธนารักษ์ คลิก รวมข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ปี 2545 - 2559รวมข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ปี 2545-2559 รวมท้้งหมด 9 เล่ม ด้วยกัน ดังนี้ เล่มที่ 1-7 เป็นเป็นหนังสือที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้รวมรวมการตอบปัญหา ข้อหารือ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร ไว้ รวม 7 เล่ม ตั้งแต่ ปี 2545 - 2555 ซึ่ง หนังสืออาจจะมีมากกว่านี้ ที่เอามานำเสนอเป็นเฉพาะส่วนที่โยธาไทยรวมรวบได้ เล่นที่ 8 เป็นหนังสือรวมข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ปี 2557 โดย สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง เล่นที่ 9 เป็นหนังสือรวมข้อหารือเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ปี 2558 โดย สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง เล่มที่ 10 เป็นหนังสือ รวมข้อหารือและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ประจำปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559) รวมรวมโดย ช่างอ่าง ธราเทพ ทองเบ้า ทางโยธาไทยได้รวบรวมและ เผยแพร่ เพื่อเป็นความรู้และแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารให้ถูกต้องสำหรับประชาชน ส่วนราชการ และ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.3/ว 423 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2559 แจ้งการใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนำร่องด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 รับทราบผลการพัฒนาระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างฯ กำหนดการเริ่มใช้งานนำร่องกับส่วนราชการ 4 หน่วยงานได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง , กรมทางหลวง , กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 กรมบัญชีกลาง จึงขอเริ่มใช้งานจริงระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์กับโครงการงานก่อสร้างที่มีวงเงินเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่ได้ดำเนินการคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดไว้เดิม และหัวหน้าส่วนราชการได้ให้ความเห็นชอบ ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 และหน่วยงานได้บันทึกในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement . e-GP) ไว้แล้ว ก็ให้ดำเนินการต่อไป ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎกระทรวง |
ปทานุกรมคำศัพท์ ภาษาอังกฤษ-ไทย ในกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร โดย สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ศ. 2556
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
20/9/2016
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ที่ใช้กับหลักเกณฑ์งานก่อสร้างของราชการ ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
จากที่กรมบัญชีกลางปรับตารางค่า FACTOR F ใหม่และเริ่มใช้ 15 กันยายน 2559 นั้น เห็นว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้นราว 2 - 3 % ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องทราบมาว่า เริ่มต้นจากกรมทางหลวง ขอปรับตารางค่างานใหม่ เพราะอัตราการเฟ้อทั้งค่าเงิน และของวัสดุก่อสร้างและต่างๆทำให้ค่างานก่อสร้างเพิ่มขึ้น จึงต้องการปรับค่างานเพิ่มขึ้น แต่เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม เช่น เดิม ค่างาน 50 ล้านบาท เวลาดำเนินการ 6 เดือน เปลี่ยนเป็นค่างาน 60 หรือ 70 ล้าน เวลาดำเนินการเท่าเดิมคือ 6 เดือน ซึ่งก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ค่างานเพิ่มตามอัตราการเฟ้อ แต่เนื้องานไม่้เพิ่ม เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม ซึ่งถ้าตามหลักการของFactor F แล้ว ค่างานน่าจะถูกลงกว่าเดิม เพราะ เนื้องานเท่าเดิม เวลาดำเนินการลดลง ค่าใช้จ่ายส่วนอำนวยการ Overhead ควรจะลดลง เพราะเวลาที่ต้องใช้จ่ายลดลง แต่กลับมี Factor F ค่าสูงขึ้น 2-3 %
เพื่อความเข้าใจ ขอชี้แจงให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การคิดค่า Factor F ว่า คิดมาอย่างไร ค่า Factor F ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้
ก. ค่าอำนวยการ Overhead ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆตั้งแต่ค่าสำนักงาน ผู้จัดการ วิศวกร พนักงาน ค่าใช้จ่ายการซื้อแบบ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งก็มีอัตราการเฟ้อเพิ่มขึ้นเหมือนๆค่างานก่อสร้าง จึงคิดเป็น เปอร์เซนต์ ของค่างานก่อสร้าง ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง
ข. กำไร ซึ่งก็คิดตามเกณฑ์ของการประกอบธุรกิจ มี Normal profit หรือดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และบวกกับ กำไรเชิงธุรกิจ ธุรกิจเสี่ยงมาก ก็ควรมีกำไรมาก ธุรกิจเสี่ยงน้อยก็กำไรน้อย
ค. ดอกเบี้ย การก่อสร้างต้องลงทุนไปก่อน กว่าเงินงวดจะออก ต้องรอใช้เวลา ต้องเสียดอกเบี้ย แม้จะมีเงินสด ก็ต้องคิดให้
ง. ค่าความเสี่ยง ความไม่แน่นอน Contingency งานก่อสร้างถนนเป็นระยะทางยาวๆ ย่อมมีอุปสรรคหรือความเสี่ยงเกิดขึ้น
จ. สุดท้ายก็คือภาษี VAT
มาเปลี่ยนแปลงครั้งแรก ตัดค่าความเสี่ยง Contingency ซึ่งมีค่าราว 4% ออก โดย อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ไม่มีประสบการณ์การประเมินราคา และงานก่อสร้างทางมาก่อน บอกว่า ซื้อประกันอุบัติภัยได้ เสียเบี้ยประกันเพียง 0.35% ของค่างานก่อสร้าง ซึ่ง อัตรานี้ก็เหมือนประกันภัยรถ ประเภท 3 ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนหนึ่ง จ่ายชดเชยเพียงบางส่วน โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยว่า ที่เขาเผื่อไว้ให้ 4% นั้น มันมีเรื่องค่า K ด้วย หลักการจ่ายเงินชดเชยค่า K กำหนดเงื่อนไขว่าจะจ่ายต่อเมื่อค่างานแปรเปลี่ยนไปเกิน 4% (K เกิน 1.04) และจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกิน 4 % ไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าผู้รับจ้างต้องเสี่ยงกับเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมัน 4% ตอนนั้นจึงคิดว่า แบ่งความเสี่ยงคนละครึ่ง รัฐ 2 ผู้รับเหมา 2 และที่เป็น 4 เพราะความเสี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอีก 2% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์สากลมาก
มาเปลี่ยนอีกรอบนี้ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เพิ่มให้ 2-3 % เพราะอ้างว่าเงินเฟ้อ ค่าแรงเพิ่ม ทั้งที่ มันเป็น เปอร์เซนต์ การเฟ้อเพิ่มยังไง มันก็เพิ่มเป็นเปอร์เซนต์ตามอัตโนมัติ กรมทางหลวงที่รู้เรื่องนี่ดี พยายามชี้แจง ก็ไม่ยอมเข้าใจ กรมทางหลวงเองไม่ต้องการให้ค่า Factor F สูงขึ้น ต้องการเพียงปรับค่างานสูงขึ้นใน Factor F ตัวเดิม เช่นเดิม ค่างาน 50 ล้าน Factor F 1.3521 ขอเป็นค่างานงาน 70 ล้าน Factor F 1.3521 คงเดิม และขยายตารางไปถึงค่างาน 700 ล้านบาท เพราะค่างานสูงขึ้นเป็นผลร้ายต่องานกรมทางหลวง งบเท่าเดิม แต่ก่อสร้างทางได้น้อยลง ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ถ้าต้องการปรับจริงๆ ควรปรับให้เกิดความถูกต้องยุติธรรม โดยนำเอา ค่า Contingency กลับมาใช้อย่างถูกต้อง และตัดค่าเบี้ยประกัยภัย 0.35% ที่ซ่อนอยู่ใน overhead ออกด้วย ตัวเลขก็ใกล้เคียงตาราง Factor F ใหม่นี้ แต่มีความถูกต้องมากกว่า ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์อ้างเรื่องค่าแรง ของแพงอีก
การจ่ายเงินชดเชยค่า K นั้น สำนักงบประมาณ ต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม กำหนดให้งานทุกรายการต้องมีการจ่ายชดเชย เพราะงานทุกรายการต้องใช้วัสดุก่อสร้าง ค่าแรง เครื่องจักร น้ำมันเหมือนๆกัน ถูกกระทบเหมือนกัน อย่ามาอ้างว่า ชดเชยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้รับจ้าง เพราะนั่นเป็นสิทธิ์ของเขาตามสัญญา / สัญญาที่ใช้เงินกู้ เขาจ่ายทุกรายการ และจ่าย ตั้งแต 1.01 ที่เกินมาเลย ไม่มีขยักไว้ 4% แบบสัญญาที่ใช้งบประมาณ และสำนักงบประมาณ ควรสำรองเงินจ่ายชดเชยค่า K ไว้ให้พอเพียง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปีหนึ่งประมาณเท่าไร มีสถิติมาแล้ว นับสิบๆปี ย่อมประเมินได้ว่า อัตราการเฟ้อควรเท่าไร และงบก่อสร้างต่างๆก็จัดเองรู้อยู่แล้ว นอกจากแกล้งโง่ หรือเพื่อต้องการอำนาจต่อรอง จึงจัดงบก้อนนี้ไว้ไม่พอ ผู้รับเหมาต้องรอการจ่ายนานเป็นปีๆ บางราย 3 ปี กว่าจะได้เงินชดเชยค่า K
คู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
คู่มืองานเขื่อนดินขนาดเล็ก และฝาย โดยสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน
เอกสารจัดทำและเผยแพร่โดยสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน กองออกแบบ กรมชลประทาน เป็นคู่มือแนะนำขั้นตอนของการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีตัวอย่างประกอบการคำนวนและตารางข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการทำงานของนายช่าง
มาตรฐานการติดตั้งท่อประปา โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
เอกสารมาตรฐานการติดตั้งท่อประปา กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษค้นนคว้าและนำไปปรับใช้ในการทำงาน
มาตรฐานด้านความปลอดภัยของกระเช้าไฟฟ้า มยผ. 9901-59
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
เอกสารความรู้เกี่ยวกับการเจาะสํารวจชั้นดิน โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
มาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสวนสนุก มยผ. 9902-59
กรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย
Categories
All
สพฐ.
มอก.
อปท.
พรบ.ควบคุมอาคาร
ประปา
พัสดุ
หางาน
ทางลอด
คู่มือ
สถาปนิก
เสาเข็ม
แบบแปลน
ระเบียบ กฎหมาย
ระเบียบ-กฎหมาย
สม้ครงาน
สถาปัตย์
ราคากลาง
ชลประทาน
กฎกระทรวง
ระบบไฟฟ้า
สภาวิศวกร
ประมาณราคา
คำวินิจฉัย
กรมทางหลวง
ราคามาตรฐาน
งานก่อสร้าง
คอมพิวเตอร์
วัสดุก่อสร้าง
มาตรฐานงานทาง
กรมทางหลวงชนบท
ความรู้งานช่าง
ศาลปกครองสูงสุด
โปรแกรมวิศวกรรม
ภาคีสถาปนิกพิเศษ
สถาปัตยกรรมควบคุม
ควบคุมงานก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้าง
ข่าวประชาสัมพันธ์
คอนกรีตเสริมเหล็ก
ข้อบังคับสภาสถาปนิก
อัตราราคางานต่อหน่วย
กรมโยธาธิการและผังเมือง
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
หนังสือราคาวัสดุก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้างและแรงงาน
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
ข.1
ข.7
Download
E Book
ค่า K
Sketchup