มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.)ท่อคอนกรีตเสริมเหล็กสําหรับงานระบายน้ำ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมรวมมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานบังคับ ประเภทโยธาและวัสดุก่อสร้าง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศคณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลางงานก่อสร้างโดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคํานวณราคากลางงานก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนําหลักเกณฑ์การคํานวณราคากลาง งานก่อสร้างไปใช้ปฏิบัติไดอย้ ่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน ข้อ 1 ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการกําหนดราคากลางงานก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วย แนวทาง และวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคํานวณราคากลางงานก่อสร้าง หลักเกณฑ์การคํานวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร หลักเกณฑ์การคํานวณราคากลางงานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม และหลักเกณฑ์การคํานวณราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ข้อ 2 การคํานวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนําร่อง จํานวน 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน ให้ดําเนินการต่อไป ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ข้อ 3 การใช้งานระบบคํานวณราคากลางงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับ ทุกหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกําหนด ตาราง หน้าตัดเหล็กรูปพรรณ และคุณสมบัติของหน้าตัดเหล็ก โดย ดร.มงคล จิรวัชรเดชหน้าตัดเหล็กรูปพรรณ และคุณสมบัติของหน้าตัดเหล็กชนิดต่างๆ ในรูปแบบของตาราง ประกอบด้วย -หน้าตัด W หรือ H -หน้าตัด S หรือ I -หน้าตัด T -หน้าตัดรางน้ำ -หน้าตัดฉากขาเท่ากัน -หน้าตัดฉากขาไม่เท่ากัน -หน้าตัดเหล็กรูปตัว C ชนิดรีดเย็น -หน้าตัดเหล็กรางน้ำชนิดรีดเย็น -หน้าตัดท่อกลม -หน้าตัดท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส -หน้าตัดท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า คู่มือ การคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกล ปรับปรุง 2560 โดย สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทานปัจจุบันเครื่องจักรกลงานก่อสร้างที่ใช้กันอยู่ในสำนักเครื่องจักรกล และสำนักชลประทานต่างๆ มีอายุ การใช้งานที่มาก และจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำงานตามภารกิจของ โครงการต่างๆ ได้ตามต้องการ ดังนั้น คู่มือเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลงาน ก่อสร้าง สามารถนำไปเป็นแนวทางในการคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกลได้ บัญชีค่าแรง/ดำเนินการ สำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง 19 ตุลาคม 2560ค่าแรงงานเป็นข้อมูลหรือรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ในทั้ง 3 หลักเกณฑ์ การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง โดยในกรณีที่ในรายละเอียดของการคำนวณตามหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคากลางงานก่อสร้างแต่ละหลักเกณฑ์มิได้มีข้อกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้อัตราค่าแรงงานตามที่กำหนดใน บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการส าหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ประกอบด้วย อัตราค่าแรงงานต่อหน่วยสำหรับรายการ/งานก่อสร้างต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างตาม หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ในกรณีที่อัตราค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับรายการงานก่อสร้างใดไม่มีกำหนดไว้ในบัญชีค่าแรงงาน/ ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางดำเนินการดังนี้ (1) หากรายการงานก่อสร้างนนั้นมีทั้งค่าวัสดุและค่าแรงงาน แต่ตามบัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการ สำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง มิได้กำหนดอัตราค่าแรงงานสำหรับรายการงานก่อสร้างนนั้น ไว้ ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางคำนวณจากยอดค่าวัสดุร้อยละ 30 -37 มาเป็นค่าแรงงาน ส่วนจะคำนวณ จากยอดค่าวัสดุร้อยละเท่าใด ระหว่างร้อยละ 30 -37 นั้น ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผ้มูีหน้าที่คำนวณราคากลาง ที่จะพิจารณากำหนดได้ตามความเหมาะสมและหรือสอดคล้องตามระดับฝีมือและหรือความขาดแคลนของ แรงงานสำหรับรายการงานก่อสร้างนนั้นๆ (2) สำหรับค่าแรงงานของบางรายการงานก่อสร้างที่ไม่มีกำหนดไว้ในบัญชีค่าแรงงาน/ ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง และมิใช่เป็นกรณีตามข้อ (1) ให้ผู้มีหน้าที่คำนวณ ราคากลางกำหนดเองตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะงานและราคาค่าแรงงานในท้องถิ่นนั้น (3) ค่าแรงงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้นี้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวค่าแรงงาน ซึ่งได้ กำหนดไว้ในรายละเอียดการคำนวณของแต่ละหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง และตามที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง หรือคณะอนุกรรมการ หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้างมอบหมาย กำหนด ทั้งนี้ บัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามสภาวการณ์ที่เป็นปัจจุบัน โดยมีข้อกำหนดให้ กระทรวงการคลัง (กรมบญัชีกลาง) มีอำนาจหน้าที่ปรับปรุงบญัชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณ ราคากลางงานก่อสร้าง และแจ้งเวียนให้หน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติตามความเหมาะสมและสอดคล้อง ตามประกาศค่าแรงขั้นต่ำของกระทรวงแรงงานฯ และ/หรือตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สนใจอบรม หลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการและการใช้ค่าK กับโยธาไทย
http://training.yotathai.com/con-k.html > สมัคร คลิก เอกสารบรรยายหลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ตามมติ ครม. 13 มีนาคม 2555 ปรับปรุง 15 มีนาคม 2560 บรรยายโดย อภิสิทธิ์ มากสุวรรณ (ช่างถึก โยธาไทย)Update เดือน มีนาคม 2560 เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการบรรยายเรื่องหลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการ ตามมติ ครม. 13 มีนาคม 2555 สำหรับท่านที่ต้องการศึกษา ก่อนเข้าอบรมหรือ ไม่มีโอกาศเข้าอบรมแต่ต้องการศึกษา ครับ Facebook : ช่างถึก https://www.facebook.com/yotathai เว็บไซต์ราคากลาง : http://rakaklang.yotathai.com/ สนใจอบรม หลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการและการใช้ค่าK กับโยธาไทย |
Download
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ฉบับเดือนมีนาคม 2560
Download หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.3/ว83 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2560 ปรับปรุงเอกสารหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ตามมติ ครม. 13 มีนาคม 2555
เกร็ดความรู้ การจัดทำราคากลาง การเผื่อวัสดุก่อสร้าง
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2560 เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
ตามที่รัฐบาลได้กําหนดนโยบายที่สําคัญในการบริหารประเทศโดยให้การเพิ่มศักยภาพ ทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเรื่องสําคัญที่ต้องเร่งดําเนินการ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่ต้องอาศัยเวลาดําเนินการในระยะยาว แต่ต้องเร่งดําเนินการให้ทันต่อการพัฒนาและความต้องการของประชาชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องโดยเร็ว เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการขนส่งที่มีมูลค่าสูงและต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัย แต่ทั้งนี้การดําเนินการทุกขั้นตอนต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักการและแนวทางของข้อตกลงคุณธรรม จึงจําเป็นต้องกําหนดให้มีกระบวนการกํากับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางดังกล่าว อันจะนําไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้าร่วมในการดําเนินกิจการของรัฐ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
และเกิดความไว้วางใจแก่ประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูประเบียบบริหารราชการแผ่นดินและส่งผลต่อภาพลักษณ์อันดีของประเทศ โดยเฉพาะในระหว่างรอการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงจะมีผลใช้บังคับ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“การจัดซื้อจัดจ้าง” หมายความว่า การดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุและการพัสดุของหน่วยงานของรัฐที่มีวงเงินตั้งแต่ห้าพันล้านบาทขึ้นไป ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้อยู่ภายใต้ คําสั่งนี้
“พัสดุ” หมายความว่า พัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
“การพัสดุ” หมายความว่า การพัสดุตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกํากับการจัดซื้อจัดจาง้
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน และสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ
ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการกํากับการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วย
(๑) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จํานวนไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการกํากับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของแต่ละโครงการ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการนั้น ๆ เพิ่มขึ้นอีกได้จํานวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๔) อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการและเลขานุการให้อธิบดีกรมบัญชีกลางแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐจํานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการการประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๓ ประธานกรรมการตามข้อ ๒ (๑) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๒ (๓)
ให้พิจารณาแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรมการเงิน การคลัง การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการกํากับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ และต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งอื่นในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าท่ของพรรคการเม ี ือง การดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีกําหนด
ข้อ ๔ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๒ ต้องไม่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรง
และทางอ้อมในโครงการที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งตนมีหน้าที่และอํานาจในการกํากับดูแลตามคําสั่งนี้
ทั้งนี้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เลขานุการหรือคณะกรรมการรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อวินิจฉัยสั่งการตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๕ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) กํากับ เร่งรัด ติดตาม และตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างจนสิ้นสุดสัญญา ทั้งนี้ ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ หรือไม่มีความซับซ้อน หรืออยู่ภายใต้ข้อจํากัดตามกฎหมาย
หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการอาจตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างเพียงบางส่วนหรือบางขั้นตอนก็ได้
(๒) สั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างกระทําการหรือไม่กระทําการใด ๆ
หรือดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการใด เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล
(๓) รับและพิจารณาข้อร้องเรียนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมทั้งจาก
ผู้สังเกตการณตามข ์ ้อตกลงคุณธรรม เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้
ก. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
ข. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ค. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ หรือข้อกําหนดใด ๆ เกี่ยวกับพัสดุ
หรือการจัดซื้อจัดจ้างอื่นของหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ง. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐพ.ศ. ๒๕๔๒
(๔) เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ
(๕) เรียกให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจําเป็น
(๗) ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม และตรวจสอบ
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
(๘) รายงานผลการดําเนินการตามคําสั่งนี้ต่อนายกรัฐมนตรี
(๙) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายในกรณีที่พิจารณาข้อร้องเรียนตาม (๓) แล้วรับฟังได้ว่า หน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือมีการกระทําที่ส่อว่าเกิดการทุจริต ให้คณะกรรมการมีอํานาจ
แจ้งให้สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจ หรือคณะกรรมการจะแจ้งหรือแนะนําให้หน่วยงานของรัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่เห็นว่ามีเหตุจําเป็นจะเสนอแนะให้พิจารณาระงับการดําเนินการบางขั้นตอนไว้ก่อน หรือให้ดําเนินการต่อโดยเริ่มจากขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการดําเนินโครงการของรัฐที่ใช้งบประมาณในการดําเนินการที่มีวงเงินสูง หรือโครงการของรัฐที่อยู่ในความสนใจของประชาชน นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการโครงการดังกล่าวท่ีไม่อยู่ภายใต้บังคับของคําสั่งนี้ได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้อมูลตามที่คณะกรรมการร้องขอ
ข้อ ๗ ให้กรมบัญชีกลางรับผิดชอบงานธุรการและสนับสนุนการทํางานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานที่แต่งตั้งขึ้นตามคําสั่งนี้ การเบิกจ่ายเบี้ยประชุม ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการอื่น ๆ ที่จําเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการโดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของกรมบัญชีกลาง
ข้อ ๘ ให้โครงการดังต่อไปนี้ และโครงการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีกําหนดซึ่งเป็นโครงการ
ที่อยู่ระหว่างการดําเนินการในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ อยู่ภายใต้การกํากับดูแล
ของคณะกรรมการตามคําสั่งนี้
(๑) โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา -
คลองสิบเก้า - แก่งคอย
(๒) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น
(๓) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ
(๔) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ําโพ
(๕) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม - หัวหิน
(๖) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์
(๗) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร
ข้อ ๙ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอํานาจแต่งตั้งประธานกรรมการและ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๒ โดยมิให้นําความในข้อ ๓ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ แล้วแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ให้นายกรัฐมนตรีมีอํานาจวินิจฉัย
และคําวินิจฉัยให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๑ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ
แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๑๒ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ราคากลาง กับ ผู้รับจ้างไม่จด ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
การจัดทำราคากลาง ตามหลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการ มองในมุมผู้รับจ้างเป็นผู้มาทำงานก่อสร้างให้ราชการ ราชการจึงคิดค่าใช้จ่ายให้ผู้รับจ้าง ตามที่ผู้รับจ้างต้องจ่ายจริงและมีค่าตอบแทนให้กับผู้รับจ้าง คือกำไร หลักการที่สำคัญของการจัดทำราคากลางงานก่อสร้างของราชการคือ มองในมุมผู้รับจ้างเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง และเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างก่อน แล้ว จึงเบิกเงินจากราชการภายหลัง เมื่อผู้รับจ้างมีค่าใช้จ่ายอะไร ราชการก็จะคิดราคาให้ผู้รับจ้าง ตามที่ต้องจ่ายในการทำงานก่อสร้าง ให้กับราชการ ซึ่ง ค่าใช้จ่ายในการทำงานก่อสร้าง มี 2 ส่วน คือ
1.ค่างานต้นทุน ประกอบด้วย
-ค่าวัสดุก่อสร้าง(รวมค่าขนส่ง)
-ค่าแรงงานก่อสร้าง
2.ค่าดำเนินงานในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่า ค่า Factor F อันประกอบไปด้วย
- ค่าอำนวยการ หรือ ค่าบริหารจัดการในการดำเนินงานก่อสร้าง
- ดอกเบี้ย ที่ผู้รับจ้างไปกู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อทำงานกับราชการ
- ภาษี ซึ่งหมายถึงภาษีที่ผู้รับจ้างต้องจ่าย ในการซื้อวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ สินค้า หรือ จ้างบริการต่างๆ เพื่อดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จตามโครงการ โดยหลักเกณฑ์ราคากลางได้กำหนดให้ใช้อัตราภาษีที่ใช้ในการคำนวณราคากลาง โดยให้เป็นไปตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้กำหนดเป็นตัวเลขกลม กรณี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเศษ ถ้าเศษถึง 0.50 ให้ปัดขึ้น ถ้าไม่ถึง 0.50 ให้ปัดลง (ดูแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ข้อ 14)
จากหลักเกณฑ์ราคากลาง จะเห็นว่า ไม่ว่าผู้รับจ้างจะจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่จดก็ตาม เมื่อ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มาทำงานก่อสร้างให้กับราชการ ผู้รับจ้างก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ในการเสียภาษี เท่าเทียมกัน (ให้คิดถึงเวลาเรา ไปซื้อของใน 7-11 เราไม่ได้จด Vat เราก็เสีย vat) ผู้รับจ้างที่ไม่ได้จด ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ มีสิทธิ์พิเศษอะไร ที่จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นภาษีในจัดซื้อสินค้าหรือจัดหาบริการมาดำเนินงานก่อสร้างให้กับราชการ ในทางตรงกันข้าม ผู้รับจ้างที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถขอคืนภาษีจากสรรพากรจากภาษีซื้อสินค้าและบริการเพื่อทำงานก่อสร้างให้กับราชการ ผู้รับจ้างที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงได้รับประโยชน์จากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จะสามารถ ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วนได้ แต่ ผู้รับจ้างที่ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่สามารถขอคืนภาษีที่จ่ายไปในการซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อมาทำงานก่อสร้างให้กับส่วนราชการได้ กรณีที่เข้าใจว่า ผู้รับจ้างที่ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เปรียบผู้รับจ้างที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ตามหลักเกณฑ์ราคากลาง ผู้จ่ายภาษี คือ ผู้รับเหมาที่มารับจ้างก่อสร้าง ไม่ใช่ส่วนราชการผู้ว่าจ้าง
กรณี ผู้รับจ้างไม่จด VAT กรมบัญชีกลางได้เคยตอบหนังสือหารือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามหนังสือที่ กค(กวพ) 0421.3/04915 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง ข้อหารือเกี่ยวกับการเสนอราคาของผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
“ราคากลางงานก่อสร้าง หมายถึง ราคาค่าก่อสร้างในงานก่อสร้าง ของทางราชการในแต่ละงาน/โครงการ ซึ่งได้จากการประเมิน หรือ คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นราคาที่ทางราชการยอมรับไม่สูงจนผู้ประกอบการได้กำไรมากเกินกว่าที่ควรและไม่เป็นราคาที่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างได้ ดังนั้นราคากลางงานก่อสร้างของราชการ จึงไม่ใช่ราคามาตรฐานของงานก่อสร้างแต่เป็นราคาที่ได้จากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ฯ”
“หากผู้เสนอราคารายต่ำสุดได้เสนอราคา ถูกต้องตรงตามรายละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคา โดยเป็นราคาที่รวมภาษีทุกชนิดแล้วและเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ส่วนราชการก็สามารถรับราคากับผู้เสนอราคารายนั้นได้ โดยมิจำเป็นต้องทำการเปรียบเทียบกับราคากลางหลังหักภาษีมูลค่าเพิ่มกับผู้เสนอราคารายอื่นอีก”
กรณีตอบข้อหารือข้างต้นเป็นกรณีสอบราคา ส่วนกรณีตกลงราคา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เคยตอบข้อหารือของจังหวัดอำนาจเจริญ ตามหนังสือ ที่ มท 0808.2/7768 ลงวันที่ 2 กันยายน 2554 เรื่องหารือการเสนอราคาของผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งยืนยันตามหลักการเดียวกับการเสนอราคา ตามที่กรมบัญชีกลางเคยวินิจฉัยไว้ ตามหนังสือที่ กค(กวพ) 0421.3/04915 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง ข้อหารือเกี่ยวกับการเสนอราคาของผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7
นอกจากนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเอง ก็เคยตอบคำถาม กรณีผู้รับจ้างไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ตามปรากฎในหนังสือ “คำถาม-คำตอบ การเงินการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล จากการสัมมนาเรื่อง มาตรการการตรวจเงินแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม 2546-วันที่ 15 มกราคม 2547” ซึ่งเป็นการตอบคำถาม ข้อ ฌ.5 ดังมีรายละเอียดดังนี้
จากการตอบคำถามของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นที่ ปรากฎ ในหนังสือ “คำถาม-คำตอบ การเงินการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล จากการสัมมนาเรื่อง มาตรการการตรวจเงินแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม 2546-วันที่ 15 มกราคม 2547” ซึ่งได้ตอบสอดคล้อง บนหลักการเดียวกับ หนังสือที่ กค(กวพ) 0421.3/04915 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง ข้อหารือเกี่ยวกับการเสนอราคาของผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ที่ส่วนราชการสามารถรับราคาผู้รับจ้างที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสนอราคาต่ำสุด และเป็นไปตามเงื่อนไข
จากเอกสารราชการที่ยกข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่า กรณี ส่วนราชการ / อปท. ที่ทำตกลงจ้างผู้รับจ้างที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยตกลงจ้างตามราคากลางงานก่อสร้างของราชการ ไม่ได้หักภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคากลาง ก่อนตกลงจ้าง หรือกรณีสอบราคาที่ ส่วนราชการจ้างผู้รับจ้างที่ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เสนอราคาต่ำสุดและเสนอเงื่อนไขถูกต้อง โดยไม่เทียบราคากับราคาที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้เสนอราคารายอื่นที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการแล้ว จึงไม่ได้เป็นกรณีที่ทำให้ราชการเสียหายตามที่หน่วยงานตรวจสอบ มีข้อทักท้วงแต่อย่างใด
>>> ช่างถึก โยธาไทย <<<
สนใจอบรม หลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการและการใช้ค่าK
http://training.yotathai.com/con-k.html <คลิก
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง ฉบับเดือนมกราคม 2560 โดยสำนักงบประมาณ
คู่มือมาตรฐานการออกแบบอาคารและสถานที่ โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นคู่มือในการออกแบบแก่ สถาปนิก วิศวกร และเป็นแนวทางให้เจ้าของและการดูแลรักษา
ซึ่งประกอบไปด้วย
-มาตรฐานการออกแบบ
-มาตรฐานการเสนอแบบร่าง
-มาตรฐานการเขียบแบบงานก่อสร้าง เป็นต้น
สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รวมแบบมาตรฐานกรมที่ดิน โดยฝ่ายแบบแผนและควบคุมการก่อสร้าง กองพัสดุ กรมที่ดิน
- แบบและประมาณราคา ถนน ลานคอนกรีต
- แบบและประมาณราคาที่เก็บหลักเขต ขนาด 36 ตารางเมตร
- แบบและประมาณราคาที่เก็บหลักเขต ขนาด 18 ตารางเมตร
- แบบและประมาณราคาบ้านพักข้าราชการ (บ้านเดี่ยว)
- แบบและประมาณราคาบ้านพักข้าราชการ (บ้านแฝด)
- แบบและประมาณราคาบ้านพักเรือนแถว 6 ห้อง
- แบบและประมาณราคารั้วและป้ายสำนักงาน
- แบบและประมาณราคาศาลาที่พักประชาชน
- แบบและประมาณราคาเสาธงชาติ
- แบบและประมาณราคาห้องน้ำประชาชน 1
- แบบและประมาณราคาห้องน้ำประชาชน 2
- แบบลานจอดรถ และระบบระบายน้ำ
- แบบประตู รั้ว และป้ายสำนักงาน
- แบบโรงจอดรถ
- แบบอาคารสำนักงานที่ดิน ขนาดกลาง
- แบบอาคารสำนักงานที่ดิน ขนาดใหญ่
- แบบอาคารสำนักงานที่ดิน ขนาดพิเศษ
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศแล้ว บังคับใช้ 1 มกราคม 2560
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ให้กําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสิบบาท ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ข้อ ๓ ให้กําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยแปดบาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่ ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พังงา ระยอง
สงขลา สระบุรี และสุราษฎร์ธานี
ข้อ ๔ ให้กําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าบาท ในท้องที่จังหวัด กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กําแพงเพชร จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย ตราด ตาก นครนายก นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลําปาง ลําพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลําภู อ่างทอง อํานาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอุบลราชธานี
ข้อ ๕ ให้กําหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยบาท ในท้องที่จังหวัดชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ระนอง และสิงห์บุรี
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ตามข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ คําว่า “วัน” หมายถึง เวลาทํางานปกติของลูกจ้าง
ซึ่งไม่เกินชั่วโมงทํางานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทํางานน้อยกว่าเวลาทํางานปกติเพียงใดก็ตาม
(๑) เจ็ดชั่วโมง สําหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
(๒) แปดชั่วโมง สําหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (๑)
ข้อ ๗ ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ข้อ ๘ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง
ค่าแรงขั้นต่ำใช้กับราคางานต่อหน่วย ในหลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง งานชลประทานจะใช้ได้ทันที
ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.3/ว 423 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2559 แจ้งการใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนำร่อง
กรมบัญชีกลาง จึงขอเริ่มใช้งานจริงระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์กับโครงการงานก่อสร้างที่มีวงเงินเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่ได้ดำเนินการคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดไว้เดิม และหัวหน้าส่วนราชการได้ให้ความเห็นชอบ ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 และหน่วยงานได้บันทึกในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement . e-GP) ไว้แล้ว ก็ให้ดำเนินการต่อไป
ที่ กค 0405.3/ว 412 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2559 เรื่อง การประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
กรมบัญชีกลางจึงกำหนดและประกาศให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ที่อัตราร้อยละ 6.00 ต่อปี จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
กำหนดการเริ่มใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/38328 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2559
๑. การพัฒนาระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางต้องถอดแบบก่อสร้างให้ได้รายการและปริมาณงานเพื่อนำเข้าไปคำนวณราคากลางในระบบ จากนั้นระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลราคาวัสดุก่อสร้างจากกระทรวงพาณิชย์ และข้อมูลรายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง เช่น ค่าแรงงานจากบัญชีค่าแรงงาน ค่าดำเนินการจากตารางค่า Operating Cost และค่าขนส่งจากตารางค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง มาใช้ในการคำนวณ ส่วนงานก่อสร้างที่ต้องคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วย (Unit Cost) ระบบจะประมวลผลโดยใช้สูตรที่กำหนดไว้แล้วในระบบมาคำนวณค่างานต้นทุนต่อหน่วยตามที่หลักเกณฑ์กำหนดให้โดยอัตโนมัติ และเมื่อรวมค่างานต้นทุนทั้งโครงการก่อสร้างแล้ว ระบบจะประมวลและนำค่า Factor F มาคำนวณเป็นราคากลางงานก่อสร้างของโครงการนั้น ๆ และเมื่อคำนวณได้ราคากลางเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งข้อมูลราคากลางและรายงานการคำนวณราคากลางไปยังระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) เพื่อดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างต่อไป โดยจะใช้นำร่องกับ ๔ หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ สำหรับส่วนราชการอื่น ๆ จะเริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
๒. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ กระทรวงการคลังได้กำหนดให้หน่วยงานที่จะมีการจัดจ้างก่อสร้างต้องประกาศเปิดเผยข้อมูลราคากลางทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน และเว็บไซต์การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) รวมทั้งได้ทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ได้แก่ บัญชีค่าแรงงาน ข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าดอกเบี้ย ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายพิเศษ ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น และโครงสร้างค่าใช้จ่าย รวมถึงได้จัดทำตาราง Factor F เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้างที่เป็นปัจจุบัน
เริ่มใช้งาน |
หน่วยงาน |
1 พฤศจิกายน 2559 |
ใช้นำร่องกับส่วนราชการ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง , กรมทางหลวง , กรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน |
1 มกราคม 2560 |
ส่วนราชการในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทุกแห่ง |
คู่มือการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง(ค่าK) มติคณะรัฐมนตรีและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
รวบรวมและจัดทํา โดยสํานักมาตรฐานงบประมาณ จัดพิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ.2555
เอกสารไฟล์ PDF 196 หน้า
ขนาดไฟล์ 9 MB
ที่ นร 0731.1/ว 114 ลว 31 สิงหาคม 2559 เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดรายการในบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ ฉบับเดือนสิงหาคม 2559
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
20/9/2016
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ที่ใช้กับหลักเกณฑ์งานก่อสร้างของราชการ ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
จากที่กรมบัญชีกลางปรับตารางค่า FACTOR F ใหม่และเริ่มใช้ 15 กันยายน 2559 นั้น เห็นว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้นราว 2 - 3 % ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องทราบมาว่า เริ่มต้นจากกรมทางหลวง ขอปรับตารางค่างานใหม่ เพราะอัตราการเฟ้อทั้งค่าเงิน และของวัสดุก่อสร้างและต่างๆทำให้ค่างานก่อสร้างเพิ่มขึ้น จึงต้องการปรับค่างานเพิ่มขึ้น แต่เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม เช่น เดิม ค่างาน 50 ล้านบาท เวลาดำเนินการ 6 เดือน เปลี่ยนเป็นค่างาน 60 หรือ 70 ล้าน เวลาดำเนินการเท่าเดิมคือ 6 เดือน ซึ่งก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ค่างานเพิ่มตามอัตราการเฟ้อ แต่เนื้องานไม่้เพิ่ม เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม ซึ่งถ้าตามหลักการของFactor F แล้ว ค่างานน่าจะถูกลงกว่าเดิม เพราะ เนื้องานเท่าเดิม เวลาดำเนินการลดลง ค่าใช้จ่ายส่วนอำนวยการ Overhead ควรจะลดลง เพราะเวลาที่ต้องใช้จ่ายลดลง แต่กลับมี Factor F ค่าสูงขึ้น 2-3 %
เพื่อความเข้าใจ ขอชี้แจงให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การคิดค่า Factor F ว่า คิดมาอย่างไร ค่า Factor F ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้
ก. ค่าอำนวยการ Overhead ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆตั้งแต่ค่าสำนักงาน ผู้จัดการ วิศวกร พนักงาน ค่าใช้จ่ายการซื้อแบบ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งก็มีอัตราการเฟ้อเพิ่มขึ้นเหมือนๆค่างานก่อสร้าง จึงคิดเป็น เปอร์เซนต์ ของค่างานก่อสร้าง ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง
ข. กำไร ซึ่งก็คิดตามเกณฑ์ของการประกอบธุรกิจ มี Normal profit หรือดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และบวกกับ กำไรเชิงธุรกิจ ธุรกิจเสี่ยงมาก ก็ควรมีกำไรมาก ธุรกิจเสี่ยงน้อยก็กำไรน้อย
ค. ดอกเบี้ย การก่อสร้างต้องลงทุนไปก่อน กว่าเงินงวดจะออก ต้องรอใช้เวลา ต้องเสียดอกเบี้ย แม้จะมีเงินสด ก็ต้องคิดให้
ง. ค่าความเสี่ยง ความไม่แน่นอน Contingency งานก่อสร้างถนนเป็นระยะทางยาวๆ ย่อมมีอุปสรรคหรือความเสี่ยงเกิดขึ้น
จ. สุดท้ายก็คือภาษี VAT
มาเปลี่ยนแปลงครั้งแรก ตัดค่าความเสี่ยง Contingency ซึ่งมีค่าราว 4% ออก โดย อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ไม่มีประสบการณ์การประเมินราคา และงานก่อสร้างทางมาก่อน บอกว่า ซื้อประกันอุบัติภัยได้ เสียเบี้ยประกันเพียง 0.35% ของค่างานก่อสร้าง ซึ่ง อัตรานี้ก็เหมือนประกันภัยรถ ประเภท 3 ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนหนึ่ง จ่ายชดเชยเพียงบางส่วน โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยว่า ที่เขาเผื่อไว้ให้ 4% นั้น มันมีเรื่องค่า K ด้วย หลักการจ่ายเงินชดเชยค่า K กำหนดเงื่อนไขว่าจะจ่ายต่อเมื่อค่างานแปรเปลี่ยนไปเกิน 4% (K เกิน 1.04) และจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกิน 4 % ไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าผู้รับจ้างต้องเสี่ยงกับเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมัน 4% ตอนนั้นจึงคิดว่า แบ่งความเสี่ยงคนละครึ่ง รัฐ 2 ผู้รับเหมา 2 และที่เป็น 4 เพราะความเสี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอีก 2% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์สากลมาก
มาเปลี่ยนอีกรอบนี้ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เพิ่มให้ 2-3 % เพราะอ้างว่าเงินเฟ้อ ค่าแรงเพิ่ม ทั้งที่ มันเป็น เปอร์เซนต์ การเฟ้อเพิ่มยังไง มันก็เพิ่มเป็นเปอร์เซนต์ตามอัตโนมัติ กรมทางหลวงที่รู้เรื่องนี่ดี พยายามชี้แจง ก็ไม่ยอมเข้าใจ กรมทางหลวงเองไม่ต้องการให้ค่า Factor F สูงขึ้น ต้องการเพียงปรับค่างานสูงขึ้นใน Factor F ตัวเดิม เช่นเดิม ค่างาน 50 ล้าน Factor F 1.3521 ขอเป็นค่างานงาน 70 ล้าน Factor F 1.3521 คงเดิม และขยายตารางไปถึงค่างาน 700 ล้านบาท เพราะค่างานสูงขึ้นเป็นผลร้ายต่องานกรมทางหลวง งบเท่าเดิม แต่ก่อสร้างทางได้น้อยลง ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ถ้าต้องการปรับจริงๆ ควรปรับให้เกิดความถูกต้องยุติธรรม โดยนำเอา ค่า Contingency กลับมาใช้อย่างถูกต้อง และตัดค่าเบี้ยประกัยภัย 0.35% ที่ซ่อนอยู่ใน overhead ออกด้วย ตัวเลขก็ใกล้เคียงตาราง Factor F ใหม่นี้ แต่มีความถูกต้องมากกว่า ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์อ้างเรื่องค่าแรง ของแพงอีก
การจ่ายเงินชดเชยค่า K นั้น สำนักงบประมาณ ต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม กำหนดให้งานทุกรายการต้องมีการจ่ายชดเชย เพราะงานทุกรายการต้องใช้วัสดุก่อสร้าง ค่าแรง เครื่องจักร น้ำมันเหมือนๆกัน ถูกกระทบเหมือนกัน อย่ามาอ้างว่า ชดเชยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้รับจ้าง เพราะนั่นเป็นสิทธิ์ของเขาตามสัญญา / สัญญาที่ใช้เงินกู้ เขาจ่ายทุกรายการ และจ่าย ตั้งแต 1.01 ที่เกินมาเลย ไม่มีขยักไว้ 4% แบบสัญญาที่ใช้งบประมาณ และสำนักงบประมาณ ควรสำรองเงินจ่ายชดเชยค่า K ไว้ให้พอเพียง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปีหนึ่งประมาณเท่าไร มีสถิติมาแล้ว นับสิบๆปี ย่อมประเมินได้ว่า อัตราการเฟ้อควรเท่าไร และงบก่อสร้างต่างๆก็จัดเองรู้อยู่แล้ว นอกจากแกล้งโง่ หรือเพื่อต้องการอำนาจต่อรอง จึงจัดงบก้อนนี้ไว้ไม่พอ ผู้รับเหมาต้องรอการจ่ายนานเป็นปีๆ บางราย 3 ปี กว่าจะได้เงินชดเชยค่า K
การใช้ค่า Factor F ในการคิดราคากลาง กรณีงานก่อสร้างหลายกลุ่มงานในโครงการก่อสร้างเดียวกัน
ตามแนวทางปฏิบัติ ข้อ 8 กำหนดให้ งานก่อสร้างหลายกลุ่มงานในโครงการเดียวกัน
ต้องเอาค่างานต้นทุนของทั้งโครงการมารวมกันแล้วจึงนำไปหาค่า Factor F ของแต่ละงาน
หรือ กรณีงานก็สร้างกลุ่มงานเดียวกันแต่มีหลายงาน
เช่นก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง ต้องเอาค่างานต้นทุน ของทั้งสามหลัง มารวมกัน ก่อนเอาไปหาค่า Factor F
จากตัวอย่างด้านล่าง หาก คิดแบบถูกต้องตามหลักเกณฑ์ราคากลาง คิดเอาค่างานต้นทุนทั้งโครงการมารวมกันก่อน
จะได้เท่ากับ 46,500,000 บาท แล้วจึงเอา ค่างานต้นทุนทั้งโครงการไปหาค่า Factor F ของแต่ละกลุ่มงาน
จะทำให้ ค่างานก่อสร้าง น้อยกว่า การคิดแบบแยกค่างานต้นทุน เพื่อนๆ ต้องระวังนะครับ
เว็บไซต์หลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการ คลิก http://rakaklang.yotathai.com
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ สำนักงบประมาณ สิงหาคม 2559
Categories
All
สพฐ.
มอก.
อปท.
พรบ.ควบคุมอาคาร
ประปา
พัสดุ
หางาน
ทางลอด
คู่มือ
สถาปนิก
เสาเข็ม
แบบแปลน
ระเบียบ กฎหมาย
ระเบียบ-กฎหมาย
สม้ครงาน
สถาปัตย์
ราคากลาง
ชลประทาน
กฎกระทรวง
ระบบไฟฟ้า
สภาวิศวกร
ประมาณราคา
คำวินิจฉัย
กรมทางหลวง
ราคามาตรฐาน
งานก่อสร้าง
คอมพิวเตอร์
วัสดุก่อสร้าง
มาตรฐานงานทาง
กรมทางหลวงชนบท
ความรู้งานช่าง
ศาลปกครองสูงสุด
โปรแกรมวิศวกรรม
ภาคีสถาปนิกพิเศษ
สถาปัตยกรรมควบคุม
ควบคุมงานก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้าง
ข่าวประชาสัมพันธ์
คอนกรีตเสริมเหล็ก
ข้อบังคับสภาสถาปนิก
อัตราราคางานต่อหน่วย
กรมโยธาธิการและผังเมือง
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
หนังสือราคาวัสดุก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้างและแรงงาน
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
ข.1
ข.7
Download
E Book
ค่า K
Sketchup