แบบฟอร์มเอกสาร การควบคุมและตรวจสอบอาคาร สำหรับติดต่อราชการ1. งานขุดดินและถมดิน ใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 2. งานตรวจสอบอาคาร รายละเอียดผู้ตรวจสอบอาคาร (ผู้ตรวจสอบใหญ่) สำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร ปก ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 1 (อาคารสูง) ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 ส่วนที่ 3 (อาคารสูง) ส่วนที่ 4 (แนวนอน) ส่วนที่ 4 (แนวตั้ง) ส่วนที่ 5 3. งานตรวจสอบป้าย (ปก) รายละเอียดการตรวจสอบป้าย (คู่มือการตรวจสอบใหญ่) สำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 ส่วนที่ 4 แผนการตรวจสอบป้ายและคู่มือตรวจสอบป้ายประจำปี แผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาป้าย และอุปกรณ์ประกอบของป้ายและคู่มือปฏิบัติการตาม แผน (สำหรับเจ้าของป้ายหรือผู้ดูแลป้าย) 4. งานควบคุมอาคาร 4.1 ใบอนุญาต ใบรับรองต่างๆ แบบ อ.1 ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร แบบ อ.2 ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยังท้องที่ภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเดียวกัน แบบ อ.3 ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคารไปยังท้องที่ภายใน เขตอำนาจ ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอื่น แบบ อ.4 ใบอนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถ เพื่อการอื่น แบบ อ.5 ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร แบบ อ.6 ใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร 4.2 คำขอต่างๆ แบบ ข.1 คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร แบบ ข.2 คำขออนุญาตเคลื่อนย้ายอาคาร แบบ ข.3 คำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร แบบ ข.4 คำขออนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ เพื่อการอื่น แบบ ข.5 คำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้าย อาคารดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น แบบ ข.6 คำขอใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร แบบ ข.7 คำขอใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนใบรับรอง แบบ ข.8 คำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคารหรือเปลี่ยนการใช้อาคาร 4.3 หนังสือแจ้งการดำเนินการต่างๆ แบบ น.1 แจ้งการออกใบอนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/รื้อถอน/เคลื่อนย้ายอาคาร/ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร แบบ น.2 แจ้งคำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/รื้อถอน/เคลื่อนย้ายอาคาร/ ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร แบบ น.3 แจ้งการขยายเวลาการออกใบอนุญาตหรือไม่อนุญาต แบบ น.4 หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน ตามมาตรา 29 แบบ น.5 หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงานของผู้ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แบบ น.6 หนังสือแจ้งการบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงานของผู้ควบคุมงาน ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แบบ น.7 หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงาน พร้อมกับการส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ ตามมาตรา 30 วรรคสอง แบบ น.8 หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานคนใหม่ ตามมาตรา 30 วรรคสอง แบบ น.9 แจ้งการขออนุญาตให้โอนใบอนุญาต แบบ น.10 แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ สำหรับผู้อุทธรณ์ แบบ น.11 แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ สำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น 4.4 คำสั่งต่างๆ แบบ ค.1 คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณ ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แบบ ค.2 คำสั่ั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามมาตรา 35 แบบ ค.3 คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งหรือให้ระงับการรื้อถอนอาคารตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.4 คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง กรณีที่ไม่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.5 คำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งหรือให้ระงับการรื้อถอนอาคาร ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แบบ ค.6 คำสั่งห้ามใช้อาคารหรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารที่อาจเป็นภยันตราย ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 41 วรรคหนึ่ง กรณีกระทำผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.7 คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.8 คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.9 คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.10 คำสั่ั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำโดยไม่ได่รับใบอนุญาต แบบ ค.11 คำสั่งให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้าย ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แบบ ค.12 คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขและให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง กรณีที่กระทำให้ผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.13 คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามมาตรา 41 และมาตรา 43 วรรคหนึ่งกรณีที่กระทำผิดไปจากที่ได้รับใบอนุญาต แบบ ค.14 คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณ ตามมาตรา 43 วรรคสอง แบบ ค.15 คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร ตามมาตรา 42 และมาตรา 43 วรรคสามกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นฯ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับใบอนุญาต แบบ ค.16 คำสั่งให้ระงับการใช้อาคาร ตามมาตรา 44 กรณีที่ยังไม่ได้ใบรับรอง แบบ ค.17 คำสั่งให้ระงับการใช้อาคาร ตามมาตรา 44 กรณีที่มีการใช้อาคาร เพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต แบบ ค.18 คำสั่งให้ระงับการใช้อาคาร ตามมาตรา 44 กรณีที่ไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้อาคารเพื่อกิจการในประเภทควบคุมการใช้ แบบ ค.19 คำสั่งให้ระงับการใช้อาคาร ตามมาตรา 44 กรณีที่เปลี่ยนการใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับกิจการหนึ่งไปใช้เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้สำหรับอีกกิจการหนึ่ง แบบ ค.20 คำสั่งให้ระงับการใช้พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อการอื่นตามมาตรา 45กรณีที่พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นนั้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ แบบ ค.21 คำสั่งให้ระงับการดัดแปลงและให้ดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลงพื้นที่ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสภาพเดิมตามมาตรา 45 แบบ ค.22 คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 45 แบบ ค.23 คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แบบ ค.24 คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 และมาตรา 46 วรรคสอง แบบ ค.25 คำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 77 (1) แบบ ค.26 คำสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามมาตรา 77 (2) แบบ ค.27 คำสั่งให้ดำเนินการเพื่อขจัดหรือระงับเหตุที่ก่อให้เกิด หรืออาจก่อให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุขการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมการผังเมืองและการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรตามมาตรา 77 (3) แบบ ค.28 คำสั่งให้ทำสัญญาเช่าที่ดินตามมาตรา 44 (4) แจ้งข้อกำหนดพิเศษดินซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Specification of Natural Rubber Modified Soil Cement Base Course) ของกรมทางหลวงให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
|
มาตรฐานค่าใช้จ่ายเครื่องจักรกลต่อชั่วโมง โดย กองโรงงานเครื่องจักรกล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
แหล่งที่มาจากเว็บไซต์ www.disaster.go.th
สถิติการทำงานต่อวัน โดยกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักอำนวยการ
แหล่งที่มาจากเว็บไซต์ http://design.obec.go.th/statwork.html
คู่มือการใช้โปรแกรมประยุกต์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ LTAXGIS โดย ส่วนนโยบายการคลังและพัฒนารายได้ สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
1. การสร้างตารางกริดแผนที่ของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.การกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ให้กับระวางที่ดินภายในเขตปกครอง
3.การตัดขอบของระวางที่ดิน
4.การสร้างชั้นข้อมูลหลักเขตปกครอง
5.การสรา้งชั้นข้อมูลแนวเขตปกครอง
6.การสร้างชั้นข้อมูลเขต (Zone)
7.การสรา้งชั้นข้อมูลเขตย่อย (Block)
8.การสรา้งชั้นข้อมูลรปูแปลงที่ดนิ
9.การสร้างชั้นข้อมูลโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง
10.การสร้างชั้นข้อมูลลักษณะทางกายภาพอื่นๆในเขตปกครอง เช่น ถนน แมน้ำ คลอง แหล่งน้ำ แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
แนวทางข้อหารือกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2557-2558
พระราชกฤษฎีกา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2560
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2518 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ (อ่านทั้งหมดที่นี่) โดยมีมาตราสำคัญดังต่อไปนี้
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 27 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 27 การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ชั้นธุรกิจ สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล
(ข) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา
(ค) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา
(ง) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(จ) รัฐมนตรี
(ฉ) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
(2) ชั้นประหยัด สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวง ผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพลตํารวจตรีขึ้นไป
(ข) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญงาน หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ขึ้นไป หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพันตํารวจโทขึ้นไป ทั้งนี้ นอกจากที่ระบุใน (ก)
(ค) ผู้ดํารงตําแหน่งระดับ หรือยศ ต่ํากว่าที่ระบุใน (ก) หรือ (ข) เฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ
ในกรณีผู้เดินทางตาม (2) (ก) มีความจําเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิให้ผู้ดํารงตําแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สําหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ
การเดินทางซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม (1) หรือ (2) จะเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินค่าพาหนะในการเดินทางภาคพื้นดินระยะเดียวกันตามสิทธิซึ่งผู้เดินทางจะพึงเบิกได้"
มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 53 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 53 การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศ สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งดังต่อไปนี้
ให้เดินทางโดยชั้นหนึ่ง
(1) หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาล
(2) ประธานรัฐสภา และรองประธานรัฐสภา
(3) ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา
(4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(5) รัฐมนตรี
(6) ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตําแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ"
มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526
"มาตรา 53/1 การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางตั้งแต่เก้าชั่วโมงขึ้นไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ชั้นหนึ่ง สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวงผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพลตํารวจเอก พลตํารวจโท
(2) ชั้นธุรกิจหรือชั้นระหว่างชั้นหนึ่งกับชั้นประหยัด สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพลตํารวจตรี
(3) ชั้นประหยัด สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งระดับ ชั้น หรือยศ นอกจากที่ระบุใน (1) และ (2)
ในกรณีผู้เดินทางตาม (2) มีความจําเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิ ให้ผู้ดํารงตําแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้ โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สําหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีปลัดกระทรวงให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ
มาตรา 53/2 การเดินทางไปราชการต่างประเทศโดยเครื่องบินจากประเทศไทยไปต่างประเทศ หรือจากต่างประเทศกลับประเทศไทย หรือการเดินทางในต่างประเทศที่มีระยะเวลาในการเดินทางต่ํากว่าเก้าชั่วโมง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ชั้นธุรกิจ สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ รองปลัดกระทรวงผู้ตรวจราชการ อธิบดี หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต หรือตําแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลโท พลเรือโท พลอากาศโท ข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพลตํารวจเอก พลตํารวจโท
(2) ชั้นประหยัด สําหรับผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับสูง ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญงาน ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ลงมา หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพลตํารวจตรี ลงมา
ในกรณีผู้เดินทางตาม (1) และ (2) มีความจําเป็นต้องโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิให้ผู้ดํารงตําแหน่งที่เดินทางดังกล่าวสามารถเดินทางและเบิกค่าโดยสารเครื่องบินในชั้นที่สูงกว่าสิทธิได้โดยต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สมุหราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ สําหรับส่วนราชการที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอํานาจเช่นเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ เว้นแต่ผู้ดํารงตําแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญตําแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ตําแหน่งประเภทอํานวยการระดับต้น ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการพิเศษ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับชํานาญการ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญงาน ตําแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ตําแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน หรือตําแหน่งที่เทียบเท่า หรือข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกอัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ลงมา หรือข้าราชการตํารวจซึ่งมียศพันตํารวจเอก อัตราเงินเดือนพันตํารวจเอกพิเศษ ลงมา ให้โดยสารชั้นประหยัด"
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายในประเภทค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่าย อัตราการจ่าย ของผู้มีสิทธิได้รับเงินประเภทดังกล่าว รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง กรณีการเดินทางไปราชการชั่วคราวและราชการประจําในราชอาณาจักร และกรณีการเดินทางไปราชการต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ระบบเผยแพร่ราคาประเมินราคา ที่ดินผ่านเว็บไซต์ โดยกรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย
1.ราคาประเมินที่ดิน จากเลขโฉนด
2.ราคาประเมินที่ดิน จากเลขที่ดิน
3.ราคาประเมินที่ดิน นส.3ก
4.ราคาประเมินที่ดินรายบล็อก
5.สรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน
6.ราคาประเมินอาคารชุด
7.ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง
ข้อดี คือ ได้ทราบราคาประเมินที่อัพเดท บางพื้นที่สามารถใช้เป็นราคาขายได้เลย ส่วนใหญ่ประโยชน์ของราคาประเมินคือ ไว้คิดค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน
ข้อเสีย (ในขั้นต้น) คือ ราคาที่เราจะสามารถตรวจสอบ อาจจะยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ในระยะแรก อาจจะทำได้แค่บางพื้นที่ (ซึ่งตอนนี้ก็เพิ่มพื้นที่มากขึ้นพอสมควร)
โดยสามารถเข้าค้นหาราคาประเมินได้ที่ เว็บไซต์ ระบบเผยแพร่ราคาประเมินราคาผ่านเว็บไซต์ ของกรมธนารักษ์ คลิก
ที่ มท 0808.2/ว2409 ลว 17 พ.ย. 2559 เรื่อง ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2559
ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.3/ว 423 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2559 แจ้งการใช้งานระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนำร่อง
กรมบัญชีกลาง จึงขอเริ่มใช้งานจริงระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์กับโครงการงานก่อสร้างที่มีวงเงินเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท ตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่ได้ดำเนินการคำนวณราคากลางตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดไว้เดิม และหัวหน้าส่วนราชการได้ให้ความเห็นชอบ ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 และหน่วยงานได้บันทึกในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement . e-GP) ไว้แล้ว ก็ให้ดำเนินการต่อไป
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
20/9/2016
อาจารย์วิสิฐ ผู้เป็นต้นคิดตาราง factor F ที่ใช้กับหลักเกณฑ์งานก่อสร้างของราชการ ได้แสดงความเห็นกรณีกรมบัญชีกลางปรับเพิ่ม ค่า Factor F
จากที่กรมบัญชีกลางปรับตารางค่า FACTOR F ใหม่และเริ่มใช้ 15 กันยายน 2559 นั้น เห็นว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้นราว 2 - 3 % ได้สอบถามผู้เกี่ยวข้องทราบมาว่า เริ่มต้นจากกรมทางหลวง ขอปรับตารางค่างานใหม่ เพราะอัตราการเฟ้อทั้งค่าเงิน และของวัสดุก่อสร้างและต่างๆทำให้ค่างานก่อสร้างเพิ่มขึ้น จึงต้องการปรับค่างานเพิ่มขึ้น แต่เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม เช่น เดิม ค่างาน 50 ล้านบาท เวลาดำเนินการ 6 เดือน เปลี่ยนเป็นค่างาน 60 หรือ 70 ล้าน เวลาดำเนินการเท่าเดิมคือ 6 เดือน ซึ่งก็ถูกต้องตามความเป็นจริง ค่างานเพิ่มตามอัตราการเฟ้อ แต่เนื้องานไม่้เพิ่ม เวลาดำเนินการไม่เพิ่ม ซึ่งถ้าตามหลักการของFactor F แล้ว ค่างานน่าจะถูกลงกว่าเดิม เพราะ เนื้องานเท่าเดิม เวลาดำเนินการลดลง ค่าใช้จ่ายส่วนอำนวยการ Overhead ควรจะลดลง เพราะเวลาที่ต้องใช้จ่ายลดลง แต่กลับมี Factor F ค่าสูงขึ้น 2-3 %
เพื่อความเข้าใจ ขอชี้แจงให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การคิดค่า Factor F ว่า คิดมาอย่างไร ค่า Factor F ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้
ก. ค่าอำนวยการ Overhead ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆตั้งแต่ค่าสำนักงาน ผู้จัดการ วิศวกร พนักงาน ค่าใช้จ่ายการซื้อแบบ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งก็มีอัตราการเฟ้อเพิ่มขึ้นเหมือนๆค่างานก่อสร้าง จึงคิดเป็น เปอร์เซนต์ ของค่างานก่อสร้าง ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง
ข. กำไร ซึ่งก็คิดตามเกณฑ์ของการประกอบธุรกิจ มี Normal profit หรือดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และบวกกับ กำไรเชิงธุรกิจ ธุรกิจเสี่ยงมาก ก็ควรมีกำไรมาก ธุรกิจเสี่ยงน้อยก็กำไรน้อย
ค. ดอกเบี้ย การก่อสร้างต้องลงทุนไปก่อน กว่าเงินงวดจะออก ต้องรอใช้เวลา ต้องเสียดอกเบี้ย แม้จะมีเงินสด ก็ต้องคิดให้
ง. ค่าความเสี่ยง ความไม่แน่นอน Contingency งานก่อสร้างถนนเป็นระยะทางยาวๆ ย่อมมีอุปสรรคหรือความเสี่ยงเกิดขึ้น
จ. สุดท้ายก็คือภาษี VAT
มาเปลี่ยนแปลงครั้งแรก ตัดค่าความเสี่ยง Contingency ซึ่งมีค่าราว 4% ออก โดย อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ไม่มีประสบการณ์การประเมินราคา และงานก่อสร้างทางมาก่อน บอกว่า ซื้อประกันอุบัติภัยได้ เสียเบี้ยประกันเพียง 0.35% ของค่างานก่อสร้าง ซึ่ง อัตรานี้ก็เหมือนประกันภัยรถ ประเภท 3 ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนหนึ่ง จ่ายชดเชยเพียงบางส่วน โดยที่ไม่รู้เรื่องเลยว่า ที่เขาเผื่อไว้ให้ 4% นั้น มันมีเรื่องค่า K ด้วย หลักการจ่ายเงินชดเชยค่า K กำหนดเงื่อนไขว่าจะจ่ายต่อเมื่อค่างานแปรเปลี่ยนไปเกิน 4% (K เกิน 1.04) และจ่ายชดเชยให้เฉพาะส่วนที่เกิน 4 % ไปแล้วเท่านั้น แสดงว่าผู้รับจ้างต้องเสี่ยงกับเรื่องราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมัน 4% ตอนนั้นจึงคิดว่า แบ่งความเสี่ยงคนละครึ่ง รัฐ 2 ผู้รับเหมา 2 และที่เป็น 4 เพราะความเสี่ยงอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอีก 2% ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์สากลมาก
มาเปลี่ยนอีกรอบนี้ ไม่มีปี่มีขลุ่ย เพิ่มให้ 2-3 % เพราะอ้างว่าเงินเฟ้อ ค่าแรงเพิ่ม ทั้งที่ มันเป็น เปอร์เซนต์ การเฟ้อเพิ่มยังไง มันก็เพิ่มเป็นเปอร์เซนต์ตามอัตโนมัติ กรมทางหลวงที่รู้เรื่องนี่ดี พยายามชี้แจง ก็ไม่ยอมเข้าใจ กรมทางหลวงเองไม่ต้องการให้ค่า Factor F สูงขึ้น ต้องการเพียงปรับค่างานสูงขึ้นใน Factor F ตัวเดิม เช่นเดิม ค่างาน 50 ล้าน Factor F 1.3521 ขอเป็นค่างานงาน 70 ล้าน Factor F 1.3521 คงเดิม และขยายตารางไปถึงค่างาน 700 ล้านบาท เพราะค่างานสูงขึ้นเป็นผลร้ายต่องานกรมทางหลวง งบเท่าเดิม แต่ก่อสร้างทางได้น้อยลง ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ถ้าต้องการปรับจริงๆ ควรปรับให้เกิดความถูกต้องยุติธรรม โดยนำเอา ค่า Contingency กลับมาใช้อย่างถูกต้อง และตัดค่าเบี้ยประกัยภัย 0.35% ที่ซ่อนอยู่ใน overhead ออกด้วย ตัวเลขก็ใกล้เคียงตาราง Factor F ใหม่นี้ แต่มีความถูกต้องมากกว่า ผู้รับจ้างไม่มีสิทธิ์อ้างเรื่องค่าแรง ของแพงอีก
การจ่ายเงินชดเชยค่า K นั้น สำนักงบประมาณ ต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม กำหนดให้งานทุกรายการต้องมีการจ่ายชดเชย เพราะงานทุกรายการต้องใช้วัสดุก่อสร้าง ค่าแรง เครื่องจักร น้ำมันเหมือนๆกัน ถูกกระทบเหมือนกัน อย่ามาอ้างว่า ชดเชยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้รับจ้าง เพราะนั่นเป็นสิทธิ์ของเขาตามสัญญา / สัญญาที่ใช้เงินกู้ เขาจ่ายทุกรายการ และจ่าย ตั้งแต 1.01 ที่เกินมาเลย ไม่มีขยักไว้ 4% แบบสัญญาที่ใช้งบประมาณ และสำนักงบประมาณ ควรสำรองเงินจ่ายชดเชยค่า K ไว้ให้พอเพียง เพราะรู้อยู่แล้วว่า ปีหนึ่งประมาณเท่าไร มีสถิติมาแล้ว นับสิบๆปี ย่อมประเมินได้ว่า อัตราการเฟ้อควรเท่าไร และงบก่อสร้างต่างๆก็จัดเองรู้อยู่แล้ว นอกจากแกล้งโง่ หรือเพื่อต้องการอำนาจต่อรอง จึงจัดงบก้อนนี้ไว้ไม่พอ ผู้รับเหมาต้องรอการจ่ายนานเป็นปีๆ บางราย 3 ปี กว่าจะได้เงินชดเชยค่า K
กฎกระทรวงกําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ตาม พรบ.ควมคุมอาคาร 2522
6/9/2016
กฎกระทรวงกําหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม
พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552
ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 บังคับใช้ 20 สิงหาคม 2559
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มีการนําอาคารประเภทอื่นมาให้บริการ
ที่พักแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งลักษณะและโครงสร้างของอาคารที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องกับอาคาร
ที่จะนํามาประกอบธุรกิจโรงแรมตามที่กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกําหนด จึงทําให้อาคารดังกล่าว
ไม่สามารถขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ เพื่อให้อาคารที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีลักษณะหรือมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารตามที่กฎหมายกําหนด
สามารถขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมได้ จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
คู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวสำหรับเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
การซ่อมบ่อน้ำบาดาลโดยการสวมท่อลดขนาดโดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
การใช้ค่า Factor F ในการคิดราคากลาง กรณีงานก่อสร้างหลายกลุ่มงานในโครงการก่อสร้างเดียวกัน
ตามแนวทางปฏิบัติ ข้อ 8 กำหนดให้ งานก่อสร้างหลายกลุ่มงานในโครงการเดียวกัน
ต้องเอาค่างานต้นทุนของทั้งโครงการมารวมกันแล้วจึงนำไปหาค่า Factor F ของแต่ละงาน
หรือ กรณีงานก็สร้างกลุ่มงานเดียวกันแต่มีหลายงาน
เช่นก่อสร้างอาคารเรียน 3 หลัง ต้องเอาค่างานต้นทุน ของทั้งสามหลัง มารวมกัน ก่อนเอาไปหาค่า Factor F
จากตัวอย่างด้านล่าง หาก คิดแบบถูกต้องตามหลักเกณฑ์ราคากลาง คิดเอาค่างานต้นทุนทั้งโครงการมารวมกันก่อน
จะได้เท่ากับ 46,500,000 บาท แล้วจึงเอา ค่างานต้นทุนทั้งโครงการไปหาค่า Factor F ของแต่ละกลุ่มงาน
จะทำให้ ค่างานก่อสร้าง น้อยกว่า การคิดแบบแยกค่างานต้นทุน เพื่อนๆ ต้องระวังนะครับ
เว็บไซต์หลักเกณฑ์ราคากลางงานก่อสร้างของราชการ คลิก http://rakaklang.yotathai.com
มาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสวนสนุก มยผ. 9902-59
กรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่3) พ.ศ.2559 ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 บังคับใช้ 17 สิงหาคม 2559
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
มาตรา ๕ และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. ๒๕๓๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่3) พ.ศ. 2559
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทตําแหน่งและระดับตําแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕
และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่1)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่2)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่3)
แก้คำผิด ของระเบียบเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (ฉบับที่ 3)
สภาสถาปนิกขอให้กรมโยธาฯ ซักซ้อมความเข้าใจ อปท. ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ควบคุมงานในขั้นตอนขออนุญาตก่อสร้าง
ซักซ้อมความเข้าใจกับพนักงานท้องถิ่นในการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างดัดแปลงอาคาร.pdf | |
File Size: | 0 kb |
File Type: |
รวมแบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท ปี 2556 ไฟล์ pdf และ CAD
- แบบมาตรฐานงานทาง
- แบบมาตรฐานงานสะพาน
- แบบงานบำรุงรักษาทาง
มีทั้งไฟล์ pdf และ ไฟล์ CAD
มาตรฐานการเจาะน้ำบาดาล โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิชาการทางด้านวิศวกรรม ธรณีวิทยา และด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งต้องอาศัยประสบการณ์ของ
ผู้ปฏิบัติงานจึงจําเป็นต้องกําหนดเป็นมาตรฐานในการดําเนินงาน
การกําหนดมาตรฐานการเจาะน้ำบาดาลประกอบด้วยการกําหนดรูปแบบมาตรฐานบ่อน้ำ
บาดาล รายละเอียดขั้นตอนในการเจาะและพัฒนาบ่อตลอดจนวัสดุในการก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล
เพื่อให้ได้บ่อน้ำบาดาลที่มีคุณภาพมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้าน
ทรัพยากรน้ำบาดาล
หนังสือคำพิพากษาน่ารู้ : คดีปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย อ.สมชัย วัฒนการุณ วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
จำนวนหน้า : 210 หน้า
มีเนื้อหาแบ่งเป็น 12 กลุ่มคดี ได้แก่ กลุ่มคดี
-การพ้นจากตำแหน่ง
- การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-สัญญาทางปกครอง
- จัดซื้อจัดจ้าง
- ความผิดทางละเมิด
-อายุความละเมิด
-ความหมายของเจ้าหน้าที่
-พรบ. ข้อมูลข่าวสาร
- วินัย
-บริหารงานบุคคล
-พรบ. ควบคุมอาคาร
-พรบ. การสาธารณสุข
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานท้องถิ่นและจัดบริการสาธารณะ
Categories
All
สพฐ.
มอก.
อปท.
พรบ.ควบคุมอาคาร
ประปา
พัสดุ
หางาน
ทางลอด
คู่มือ
สถาปนิก
เสาเข็ม
แบบแปลน
ระเบียบ กฎหมาย
ระเบียบ-กฎหมาย
สม้ครงาน
สถาปัตย์
ราคากลาง
ชลประทาน
กฎกระทรวง
ระบบไฟฟ้า
สภาวิศวกร
ประมาณราคา
คำวินิจฉัย
กรมทางหลวง
ราคามาตรฐาน
งานก่อสร้าง
คอมพิวเตอร์
วัสดุก่อสร้าง
มาตรฐานงานทาง
กรมทางหลวงชนบท
ความรู้งานช่าง
ศาลปกครองสูงสุด
โปรแกรมวิศวกรรม
ภาคีสถาปนิกพิเศษ
สถาปัตยกรรมควบคุม
ควบคุมงานก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้าง
ข่าวประชาสัมพันธ์
คอนกรีตเสริมเหล็ก
ข้อบังคับสภาสถาปนิก
อัตราราคางานต่อหน่วย
กรมโยธาธิการและผังเมือง
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
หนังสือราคาวัสดุก่อสร้าง
ราคาวัสดุก่อสร้างและแรงงาน
บัญชีราคามาตรฐานสิ่งก่อสร้าง
กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
ข.1
ข.7
Download
E Book
ค่า K
Sketchup