YOTATHAI
  • โยธาไทย
    • ค้นหาข้อมูลโยธาไทย
    • ช่างถึก โยธาไทย
    • โยธาไทยเทรนนิ่ง
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย (เชียงราย) >
      • Facebook บ้านโยธาไทย
    • Line
    • พัสดุ/ราคากลาง / ค่า k >
      • หลักเกณฑ์ราคากลาง
      • ปรึกษาปัญหาราคากลาง
      • ชุดหนังสือหลักเกณฑ์ราคากลาง
      • E-ราคากลาง
      • อบรมราคากลาง
      • ค่า K
      • ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
      • ราคาวัสดุก่อสร้าง
      • ราคาน้ำมัน
  • เว็บบอร์ดโยธาไทย
  • SketchUp
    • ข่าวสาร/ความรู้ SketchUp
    • เว็บ SketchUp Builder
    • อบรม SketchUp
    • จำหน่าย VIDEO SketchUp
    • จำหน่ายโปรแกรม SketchUp
    • Facebook SketchUp >
      • เพจ THIA BIM
      • กลุ่ม Sketchup Builder
    • Profile Builder 3 + Quantifier Pro
  • ข่าวสาร/ประกาศ
    • Yotanews
    • news
    • SketchUp News
    • แบบแปลน
    • passadu news
  • สนับสนุนโยธาไทย
    • โปรโมชั่น รวมชุดโปรแกรม
    • รวมคอร์สอบรม ราคากลางออนไลน์
    • โยธาไทย รับเชิญบรรยาย
    • รับสอนออนไลน์ ราคากลางงานก่อสร้าง
    • จำหน่ายโปรแกรม ค่า K
    • รับทำคำนวณ ค่า k
    • โปรแกรม SketchUp
    • โปรแกรมคำนวณค่า Factor F
    • โปรแกรมคำนวณวัสดุมวลรวมงานอาคาร
    • ยางมะตอยผสมเสร็จโยธาพรีมิกซ์
    • โยธาไทยแอสฟัลท์
    • สารส้ม/คลอรีน
    • ลงโฆษณา Banner บนเว็บไซต์โยธาไทย

การใช้คำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

25/1/2018

Comments

 
Picture

ประกาศสภาวิศวกรที่ 4 เรื่อง การใช้คำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

Picture

DOWNLOAD เอกสาร ไฟล์.pdf จำนวน 1 หน้า ขนาด 1 MB คลิก

Comments

หนังสือประกอบการอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยสภาวิศวกร

11/10/2017

Comments

 
Picture

หนังสือประกอบการอบรมและทดสอบความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยสภาวิศวกร

​สําหรับการจัดพิมพ์หนังสือคู่มือประกอบการอบรมและทดสอบ ความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมครั้งนี้ทาง อนุกรรมการอบรมและทดสอบความพร้อมการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ได้จัดตั้งคณะทํางานปรับปรุงหนังสือฯ ซึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิมีความรู้ความชํานาญในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านจรรยาบรรณ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทักษะ และด้าน ความปลอดภัย ขึ้นมา เพื่อร่วมกันทําการปรับปรุงเนื้อหาวิชาที่ใช้ในการ อบรมให้มีรายละเอียดของเนื้อหา ที่มีความเหมาะสม กระชับและ ทันสมัย เพื่อความเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบ ความพร้อมฯ ทั้งในการอบรมและทดสอบความพร้อม และในการ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมต่อไป ทั้งนี้คณะอนุกรรมการอบรมและทดสอบความพร้อมฯ และ คณะทํางานปรับปรุงหนังสือประกอบการอบรมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือประกอบการอบรมฯ เล่มนี้จะสามารถอํานวยประโยชน์ให้แก่ผู้ เข้าอบรมฯ ได้สมดังความมุ่งมั่น ความตั้งใจ ที่ได้ร่วมกันใช้ความรู้ ความสามารถในการปรับปรุงจนเสร็จสมบูรณ์
Picture

Picture
ดูและDownload link หลัก ไฟล์ pdf จำนวน 348 หน้า ขนาด 9MB
Comments

การสำรวจด้วยวิธีการระดับ LEVELING SURVEYING โดย คุณภิญโญ วรเกษตร

25/9/2017

Comments

 
Picture

การสำรวจด้วยวิธีการระดับ LEVELING SURVEYING โดย คุณภิญโญ วรเกษตร

Picture

Picture
ดูและDownload link หลัก ไฟล์ pdf จำนวน 60 หน้า ขนาด 4.3 MB
Comments

ข้อมูลภาพ วิธีการก่อสร้างอาคาร โดยกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

15/9/2017

Comments

 
Picture

ข้อมูลภาพ วิธีการก่อสร้างอาคาร โดยกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

การรวบรวมและเรียบเรียงภาพรวมทั้งเขียนคําบรรยาย ประกอบ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งที่มีและไม่มีประสบการณ์ในการทํางานหน้างานก่อสร้างได้เรียนรู้วิธีการก่อสร้างอาคารจากภาพถ่ายหน้างาน ก่อสร้างซึ่งแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการทํางาน การเตรียมการแก้ไขปัญหาของงานแต่ละอย่าง เช่น การเสียบเหล็กเสริมเพื่อต่อกับส่วนของอาคารที่จะหล่อคอนกรีตในภายหลัง   การเสียบเหล็ก เสริมไว้เพื่อก่ออิฐ  การเตรียมงานไว้สําหรับงานวิศวกรรมระบบ เป็นต้น  รวมทั้งแสดงขั้นตอน การทํางานบางอย่างซึ่งไม่ปรากฏในแบบและรายการแต่จะต้องทําตามหลักวิชา เช่น การเท คอนกรีตหยาบรองใต้พื้นที่ใช้ดินเป็นแบบ ก่อนผูกเหล็กเสริมที่ต้องเสริมเหล็กจํานวนมากหรือการ ใส่แผ่นยางกันน้ําบริเวณรอยต่อคอนกรีตของพื้นหรือผนังชั้นใต้ดิน เป็นต้น 
Picture
Picture
ดูและDownload link หลัก ไฟล์.pdf จำนวน 376 หน้า ขนาด  65MB
Comments

คู่มือ การคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกล ปรับปรุง 2560 โดย สำนักเครื่องจักรกล

7/9/2017

Comments

 
Picture

คู่มือ การคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกล ปรับปรุง 2560 โดย สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน

ปัจจุบันเครื่องจักรกลงานก่อสร้างที่ใช้กันอยู่ในสำนักเครื่องจักรกล และสำนักชลประทานต่างๆ มีอายุ
การใช้งานที่มาก และจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำงานตามภารกิจของ
โครงการต่างๆ ได้ตามต้องการ ดังนั้น คู่มือเล่มนี้ได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลงาน
ก่อสร้าง สามารถนำไปเป็นแนวทางในการคำนวณค่าเช่าเครื่องจักรกลได้ 
Picture
Picture
ดูและDownload link หลัก ไฟล์.pdf จำนวน 20 หน้า ขนาด  668KB
Comments

การเจาะสํารวจชั้นดิน (Soil Boring)และการขุดบ่อทดสอบ (Test Pit หรือ Trial Pit) โดย คุณประวิตร์ เพ็งเจริญ

1/6/2017

Comments

 
Picture

การเจาะสํารวจชั้นดิน (Soil Boring)และการขุดบ่อทดสอบ (Test Pit หรือ Trial Pit) โดย คุณประวิตร์ เพ็งเจริญ

เป็นเอกสารของโครงการอบรมการเจาะสำรวจดิน การเจาะสํารวจชั้นดิน (Soil Boring)และการขุดบ่อทดสอบ (Test Pit หรือ Trial Pit) โดย คุณประวิตร์ เพ็งเจริญ โครงการอบรมนี้จัดขึ้นเมื่อ 20-21 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา โดย คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Picture
Picture
Picture
Picture
​ดูและDownload link หลัก จำนวน 67 หน้า ไฟล์ .pdf ขนาด 10.7MB
Comments

กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

12/10/2016

Comments

 
Picture

กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
“สาขาสถาปัตยกรรมหลัก” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังอาคารเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพของอาคาร ส่วนประกอบอาคาร และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับอาคาร

“สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมือง ชุมชน และโครงการกลุ่มอาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผังเพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว

“สาขาภูมิสถาปัตยกรรม” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังบริเวณเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพของสภาพแวดล้อมทางภูมิทัศน์ในชุมชนและพื้นที่ธรรมชาติทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอาคาร

“สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์” หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบเพื่อสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร

ข้อ ๒ วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ได้แก่ วิชาชีพสถาปัตยกรรมในสาขา ดังต่อไปนี้
(๑) สาขาสถาปัตยกรรมหลัก ในงานตามข้อ ๓ ยกเว้นการออกแบบวางผังอาคารที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลพื้นที่รวมกันไม่เกิน ๑๕๐ ตารางเมตร หรืออาคารเพื่อการเกษตรพื้นที่ไม่เกิน ๔๐๐ ตารางเมตร
(๒) สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ในงานตามข้อ ๓ ที่เกี่ยวกับการวางผังสำหรับพื้นที่หรือกลุ่มอาคาร ดังต่อไปนี้
(ก) พื้นที่ที่มีการใช้บังคับผังเมืองรวมและจัดทำผังเมืองเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(ข) พื้นที่ที่มีการจัดรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
(ค) พื้นที่ที่มีการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
(ง) พื้นที่อนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(จ) พื้นที่ในเขตเพลิงไหม้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือพื้นที่ที่มีภัยพิบัติและอุบัติภัยตามที่กฎหมายกำหนด
(ฉ) นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือพื้นที่พัฒนาพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด
(ช) กลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง และอาคารพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
(๓) สาขาภูมิสถาปัตยกรรม ในงานตามข้อ ๓ สำหรับพื้นที่หรือบริเวณ ดังต่อไปนี้
(ก) พื้นที่สาธารณะ หรือบริเวณอาคารสาธารณะ
(ข) พื้นที่ที่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้สอยได้ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป
(ค) พื้นที่ที่มีการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ยกเว้นพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่พักอาศัยส่วนบุคคล
(๔) สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ในงานตามข้อ ๓ สำหรับพื้นที่ภายในอาคารสาธารณะที่มีพื้นที่ตั้งแต่ ๕๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป

ข้อ ๓ งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละสาขา มีดังต่อไปนี้
(๑) งานศึกษาโครงการ หมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การกำหนดความต้องการและข้อจำกัดเป็นโครงการย่อ การจัดทำสาระความต้องการสำหรับการออกแบบโครงร่างของโครงการ การจัดทำแผนงาน และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
(๒) งานออกแบบ หมายถึง การกำหนดรายละเอียดโครงการ การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบและวางผัง การพัฒนารูปแบบ การจัดทำแบบและเอกสารการก่อสร้าง การกำหนดรูปแบบและรายการวัสดุก่อสร้าง การประมาณราคาค่าก่อสร้าง และการตรวจสอบรูปแบบระหว่างการก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรมทั้งที่ก่อสร้างใหม่ ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย บูรณะ ฟื้นฟู หรืออนุรักษ์
(๓) งานบริหารและอำนวยการก่อสร้าง หมายถึง การบริหารจัดการและจัดทำแผนการบริหารโครงการ การกำหนดหลักเกณฑ์โครงการ การคำนวณราคาและควบคุมค่าก่อสร้าง การควบคุมการก่อสร้างดัดแปลง ซ่อมแซม รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารหรือสิ่งก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบรายการและสัญญา การวินิจฉัยแผนงานและวิธีการก่อสร้าง การรับรองผลการทดสอบวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ และให้หมายความรวมถึงการวางแผนการดำเนินงาน การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์สินอาคารในงานสถาปัตยกรรมทั้งที่ก่อสร้างใหม่ ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย บูรณะ ฟื้นฟูหรืออนุรักษ์
(๔) งานตรวจสอบ หมายถึง การสำรวจ การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ รวมทั้งการหาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบรูปแบบ อุปกรณ์ประกอบของอาคาร ระบบสุขอนามัยหรือสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง งานตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัยในอาคารในด้านสถาปัตยกรรมควบคุม รวมทั้งงานระบบอาคารที่เกี่ยวข้อง และการออกเอกสารรับรองผลการตรวจสอบ
(๕) งานให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ข้อเสนอแนะหรือการตรวจสอบเพื่อให้คำปรึกษาในงานตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

ข้อ ๔ ให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในสาขาสถาปัตยกรรมหลัก สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม หรือสาขาสถาปัตยกรรมมัณฑนศิลป์อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในสาขาสถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาภูมิสถาปัตยกรรม หรือสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ตามกฎกระทรวงนี้ตามลำดับ
ข้อ ๕ ผู้ใดประกอบการงานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมต่อไป ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามสาขาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายในสองปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และเมื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้วให้ผู้นั้นประกอบการงานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตจากสภาสถาปนิก

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก
พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้อง
ออกกฎกระทรวงนี้

งาน ประเภท และขนาด ที่ต้องมีสถาปนิกที่ได้รับใบอนุญาต แต่ละสาขาเป็นผู้ดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 มาตตรา 4
Picture
Picture
​ดูและdownload link หลัก ไฟล์ .pdf 
Comments

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา

7/10/2016

Comments

 
Picture

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๖) (ฉ) และมาตรา ๔๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย สภาวิศวกรโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่สามัญสภาวิศวกร และโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาวิศวกร จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้งาน ประเภท และขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๐

ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ทุกงาน ทุกประเภท และทุกขนาด

ข้อ ๕ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับสามัญวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้เฉพาะงานวางโครงการ งานออกแบบและคำนวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต งานพิจารณาตรวจสอบ หรืองานอำนวยการใช้ ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ ๖ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับภาคีวิศวกร ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้เฉพาะงาน ประเภทและขนาดดังนี้
​
(๑) งานออกแบบและคำนวณ
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน ๔ ชั้น หรือโครงสร้างของอาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงไม่เกิน ๕ เมตร หรืออาคารที่มีช่วงคานยาวทุกขนาด
(ข) คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น หรือยุ้งฉางที่มีความจุไม่เกิน ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
(ค) โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่อง หรือศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป หรือเจดีย์ ที่มีความสูงไม่เกิน ๑๕ เมตร
(ง) นั่งร้านหรือค้ำยันชั่วคราวที่มีความสูงไม่เกิน ๒๕ เมตร
(จ) แบบหล่อคอนกรีตสำหรับเสาที่มีความสูงไม่เกิน ๕ เมตร หรือคานที่มีช่วงคานยาวทุกขนาด
(ฉ) โครงสร้างใต้ดิน สิ่งก่อสร้างชั่วคราว กำแพงกันดิน คันดินป้องกันน้ำ หรือคลองส่งน้ำที่มีความสูงหรือความลึกไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร
(ช) เขื่อน ฝาย อุโมงค์ ท่อระบายน้ำ หรือระบบชลประทานที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๕๐ เมตร หรือมีความจุไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร หรือที่มีอัตราการไหลของน้ำไม่เกิน ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
(ซ) โครงสร้างที่มีการกักของไหล เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน อุโมงค์ส่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำที่มีความจุไม่เกิน ๕๐๐ ลูกบาศก์เมตร
(ฌ) ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือช่องระบายน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑.๕๐ เมตร หรือพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน ๒.๐๐ ตารางเมตร และมีโครงสร้างรองรับ
(ญ) ระบบชลประทานที่มีพื้นที่ชลประทานไม่เกิน ๕,๐๐๐ ไร่ต่อโครงการ

(๒) งานควบคุมการสร้างหรือการผลิต
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน ๘ ชั้น
(ข) อาคารสาธารณะที่มีความสูงไม่เกิน ๘ ชั้น
(ค) คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น หรือยุ้งฉางทุกขนาด
(ง) โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นหอ ปล่อง ที่มีความสูงไม่เกิน ๔๐ เมตร หรือศาสนวัตถุ เช่น พระพุทธรูป หรือเจดีย์ ที่มีความสูงไม่เกิน ๒๓ เมตร
(จ) โครงสร้างสะพานที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อช่วงใดช่วงหนึ่งยาวไม่เกิน ๑๒ เมตร
(ฉ) ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จรูปทุกชนิดที่มีความยาวทุกขนาด
(ช) เสาเข็มคอนกรีตทุกขนาด
(ซ) นั่งร้านหรือค้ำยันชั่วคราวที่มีความสูงไม่เกิน ๔๒ เมตร
(ฌ) โครงสร้างใต้ดิน สิ่งก่อสร้างชั่วคราว กำแพงกันดิน คันดินป้องกันน้ำ หรือคลองส่งน้ำที่มีความสูงหรือความลึกไม่เกิน ๒.๕ เมตร
(ญ) ทางสาธารณะทุกขนาด
(ฎ) เขื่อน ฝาย อุโมงค์ ท่อระบายน้ำ หรือระบบชลประทาน ทุกขนาด
(ฏ) โครงสร้างที่มีการกักของไหล เช่น ถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำมัน อุโมงค์ส่งน้ำ หรือสระว่ายน้ำทุกขนาด
(ฐ) ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ หรือช่องระบายน้ำทุกขนาด และมีโครงสร้างรองรับ
(ฑ) ระบบชลประทานทุกขนาด
(ฒ) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย มีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน ๒๓ เมตร หรือป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกิน ๕๐ ตารางเมตร ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ดาดฟ้า หรือกันสาด หรือที่ติดกับส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร
(ณ) อัฒจันทร์ที่มีพื้นที่ไม่เกิน ๑,๕๐๐ ตารางเมตร
(ด) โครงสร้างสำหรับใช้ในการรับส่งหรือติดตั้งอุปกรณ์รับส่งวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีความสูงจากระดับฐานของโครงสร้างไม่เกิน ๕๐ เมตร

(๓) งานพิจารณาตรวจสอบ หรืองานอำนวยการใช้ ทุกประเภทและทุกขนาด

ข้อ ๗ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ได้ตามงาน ประเภทและขนาดที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

ข้อ ๘ ในกรณีที่ต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการสภาวิศวกรเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นที่สุด

ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามประเภท และสาขาที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไขตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. ๒๕๐๕ อยู่ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้นั้นประกอบการงานนั้นต่อไปได้จนกว่างานจะแล้วเสร็จ
Picture
​ดูและdownload link หลัก ไฟล์ .pdf ขนาด 126MB
​จำนวน 4 หน้า
Comments

คู่มือประชาชน  จัดทำโดยสำนักงานสภาวิศวกร

3/8/2016

Comments

 
Picture

คู่มือประชาชน  จัดทำโดยสำนักงานสภาวิศวกร

สภาวิศวกรจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ .ศ . ๒๕๔๒ มีสถานะเป็นนิติบุคคล ทําหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรหรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รับรองความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม รวมทั้งเสนอแนะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกําหนดและการเลิกสาขาวิศวกรรมควบคุมและออกข้อบังคับสภา วิศวกร โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะสภานายกพิเศษ  ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณา อนุญาตของทางราชการโดยได้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ก และมีผลใช้บังคับในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นกฎหมายกลางที่จะกําหนดมาตรฐานงานบริการภาครัฐเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลา ในการ พิจารณาอนุญาต และจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคําร้องและศูนย์รับคําขออนุญาต ณ จุดเดียว ซึ่งจะส่งผลให้ ประชาชน นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ เข้าถึงข้อมูลการให้บริการภาครัฐ ได้ง่ายขึ้นและการบริการมีมาตรฐานแน่นอนชัดเจน รวมทั้งช่วย ลดความเสี่ยงของการทุจริต คอร์รัปชั่น 
สํานักงานสภาวิศวกรจึงได้จัดทํา คู่มือประชาชน ตามกําหนดในพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เพื่อประโยชน์ใน สื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ส่วนราชการ ประชาชน ผู้ประกอบการ สมาชิกสภาวิศวกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง
การรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

​ภายในคู่มือประชาชนสภาวิศวกร จะประกอบไปด้วยเรื่องดังต่อไปนี้
  • การยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร
  • การยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ
  • งานเลื่อนระดับสามัญวิศวกร
  • งานเลื่อนระดับวุฒิวิศวกร
  • การยื่นคําขอต่ออายุใบอนญุาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  • งานการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล
  • การขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทนิติบุคคล
  • การขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer)
  • การต่ออายุทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer)
  • การขึ้นทะเบียนวิศวกรเอเปค (APEC Engineer)
  • การต่ออายุทะเบียนวิศวกรเอเปค (APEC Engineer)


Picture
คู่มือประชาชน สภาวิศวกร ไฟล์ .pdf ขนาด 1.2MB
จำนวน 78 หน้า 
Comments

ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมฯ พ.ศ. 2559

14/3/2016

Comments

 
Picture

ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2559

สภาวิศวกร ได้ประกาศ “ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2559” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ใช้บังคับ 4 มีนาคม 2559 มีผลยกเลิก ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติ
ผิดจรรยาบรรณอันจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. 2543
Picture
Picture

ดูและ Download

Picture
Picture
จรรยาบรรณวิศวกร2559.pdf
File Size: 49 kb
File Type: pdf
Download File

Comments
    • สมัครรับข่าวความรู้จากช่างถึก
    • เชิญวิทยากรบรรยาย
    • ติดต่อทีมงานโยธาไทย (Line@)
    • สมัครอบรมกับโธาไทย
    • กลุ่มสนทนาใน Line(ฟรี)
    • รับข่าวสารผ่าน Line(ฟรี)
    • กลุ่มปรึกษาปัญหาใน FB(ฟรี)
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย
    • ยางมะตอยโยธาพรีมิกซ์
    • สารส้ม-คลอรีน
    • โปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • เขียนเหล็กเสริมใน SketchUp
    Picture
    Picture
    Picture
    เพิ่มโยธาไทยเป็นเพื่อนใน Line
    Picture
    Picture
    Picture

    Categories

    All
    มอก.
    อปท.
    สพฐ.
    พรบ.ควบคุมอาคาร
    หางาน
    พัสดุ
    ประปา
    คู่มือ
    ทางลอด
    แบบแปลน
    เสาเข็ม
    สถาปนิก
    ระเบียบ กฎหมาย
    ระเบียบ-กฎหมาย
    ชลประทาน
    สถาปัตย์
    สม้ครงาน
    ราคากลาง
    สภาวิศวกร
    ระบบไฟฟ้า
    กฎกระทรวง
    คำวินิจฉัย
    ประมาณราคา
    กรมทางหลวง
    งานก่อสร้าง
    คอมพิวเตอร์
    ราคามาตรฐาน
    วัสดุก่อสร้าง
    มาตรฐานงานทาง
    ความรู้งานช่าง
    กรมทางหลวงชนบท
    โปรแกรมวิศวกรรม
    ศาลปกครองสูงสุด
    ภาคีสถาปนิกพิเศษ
    ราคาวัสดุก่อสร้าง
    คอนกรีตเสริมเหล็ก
    สถาปัตยกรรมควบคุม
    ควบคุมงานก่อสร้าง
    ข่าวประชาสัมพันธ์
    ข้อบังคับสภาสถาปนิก
    กรมโยธาธิการและผังเมือง
    หนังสือราคาวัสดุก่อสร้าง
    ราคาวัสดุก่อสร้างและแรงงาน
    กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
    ข.1
    ข.7
    Download
    E Book
    ค่า K
    Sketchup

    RSS Feed

Picture
   
Click to set custom HTML
โยธาไทย  :  yotathai.com
ก่อตั้ง : 2546
เว็บมาสเตอร์ : อภิสิทธิ์ มากสุวรรณ (ช่างถึก)
วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนการทำงานของเพื่อนช่างทั้งภาคราชการ/เอกชน และชาวท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานพัฒนาประเทศไทย
ติดต่อโยธาไทย : Line ID (เป็นทางการ) : @yotathai
Email : yotathai@gmail.com
โทร :  084 750 8118  (ในวันและเวลาราชการเท่านั้น) "
  • โยธาไทย
    • ค้นหาข้อมูลโยธาไทย
    • ช่างถึก โยธาไทย
    • โยธาไทยเทรนนิ่ง
    • ร้านค้าโยธาไทย
    • บ้านโยธาไทย (เชียงราย) >
      • Facebook บ้านโยธาไทย
    • Line
    • พัสดุ/ราคากลาง / ค่า k >
      • หลักเกณฑ์ราคากลาง
      • ปรึกษาปัญหาราคากลาง
      • ชุดหนังสือหลักเกณฑ์ราคากลาง
      • E-ราคากลาง
      • อบรมราคากลาง
      • ค่า K
      • ราคามาตรฐานครุภัณฑ์
      • ราคาวัสดุก่อสร้าง
      • ราคาน้ำมัน
  • เว็บบอร์ดโยธาไทย
  • SketchUp
    • ข่าวสาร/ความรู้ SketchUp
    • เว็บ SketchUp Builder
    • อบรม SketchUp
    • จำหน่าย VIDEO SketchUp
    • จำหน่ายโปรแกรม SketchUp
    • Facebook SketchUp >
      • เพจ THIA BIM
      • กลุ่ม Sketchup Builder
    • Profile Builder 3 + Quantifier Pro
  • ข่าวสาร/ประกาศ
    • Yotanews
    • news
    • SketchUp News
    • แบบแปลน
    • passadu news
  • สนับสนุนโยธาไทย
    • โปรโมชั่น รวมชุดโปรแกรม
    • รวมคอร์สอบรม ราคากลางออนไลน์
    • โยธาไทย รับเชิญบรรยาย
    • รับสอนออนไลน์ ราคากลางงานก่อสร้าง
    • จำหน่ายโปรแกรม ค่า K
    • รับทำคำนวณ ค่า k
    • โปรแกรม SketchUp
    • โปรแกรมคำนวณค่า Factor F
    • โปรแกรมคำนวณวัสดุมวลรวมงานอาคาร
    • ยางมะตอยผสมเสร็จโยธาพรีมิกซ์
    • โยธาไทยแอสฟัลท์
    • สารส้ม/คลอรีน
    • ลงโฆษณา Banner บนเว็บไซต์โยธาไทย